รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 7 กรณีศึกษา: โรงเรียนบ้านโนนพุทรา
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การจัดการเรียนรู้, ผู้เรียนเป็นสำคัญบทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 7 กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านโนนพุทรา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน จำนวน 10 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและไม่เป็นทางการ มีความตรงเชิงเนื้อหาของค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80-1 และค่าความเชื่อมั่น 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า สภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนบ้านโนนพุทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 จังหวัดนครราชสีมา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน ได้ผลดังนี้ การเรียนรู้อย่างมีความสุข การเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริงการเรียนโดยกระบวนการเรียนรู้ของตนเองการเรียนรู้แบบองค์รวม อยู่ในระดับมากทุกรายการ และจากการสังเคราะห์ การสัมภาษณ์พบจุดที่ควรแก้ไข คือ ผู้เรียนไม่เข้าใจการวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อยของตัวเองว่าตนเองมีความสามารถและเก่งอ่อนด้านใด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. คุรุสภา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2548). การสังเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตั้งแต่ปี 2542-2547 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กานต์ ตระกูลฮุน. (2552). สุชนสโมสรรวมพลคนรักประเทศไทย. มติชน.
กิ่งฟ้า สินธุวงษ์. (2552, มกราคม - มิถุนายน). การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 1(1), 6-9.
จรูญ จับบัง และคณะ. (2555, เมษายน-กันยายน). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตาม ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สังกัดส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 59-72.
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนสมพร มะโนรัตน์. (2560). รูปแบบการพัฒนาผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ ของโรงเรียนบ้านห่องวารี(นิพันธ์ธรรมสาสน์อุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ศรีสะเกษ เขต 2.
ปัญญา ธีระวิทยเลิศ และ มีนมาส พรานป่า. (2564, มกราคม –มิถุนายน). วิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูงกับการทำดุษฎีนิพนธ์สาขาบริหารการศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 10(1), 1-8.
พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ และคณะ. (2543) .รายงานการวิจัยเอกสารเรื่องการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในระดับปริญญาตรี. ทบวงมหาวิทยาลัย.
เมธี ปิลันธนานนท์. (2553). ปรัชญาการศึกษาสำหรับครู. ไทยวัฒนาพานิช.
เรณู คุปตัษเฐียร. (2553). ปรัชญาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วีระเดช เชื้อนาม. (2545) .เจาะแก่น Child-centered. กองนโยบายและแผน. สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2544). การพัฒนาการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการพัฒนาหลักสูตรและการสอน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา. (2555). คู่มือ การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน 2554). ออฟเซ็ท พลัส.
อรทัย มูลคำ. (2544). บูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. ดวงกมลสมัย.
Best,John w. (1970). Research in education. Prentice-Hall.
Cronbach, L Joseph. (1970). Essentials of psychological testing. 3rd Ed. Harper and Row.
Dewey, John. (1973). Experience and education. Collier Macmillan Publishers.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.