สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการศึกษาของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของโรงเรียนมาตรฐานสากลในกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์
คำสำคัญ:
สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา, ไทยแลนด์ 4.0, บริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล, กลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการศึกษาของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของโรงเรียนมาตรฐานสากล กลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักวิชาการศึกษา ครู และผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ โดยใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง
ของ Krejcie & Morgan (1970) ได้กลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 214 คน จากนั้นเทียบบัญญัติไตรยางศ์หาสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างตามจังหวัด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีสมรรถนะที่สอดคล้องกับเป้าหมายการศึกษาตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของโรงเรียนมาตรฐานสากล กลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีม การมุ่งผลสัมฤทธิ์ และการบริการที่ดี
2. ประสิทธิภาพของผู้บริหารสถานศึกษาในการเตรียมคนไทยตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของโรงเรียนมาตรฐานสากล กลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ดังนี้ ปรับกระบวนทัศน์และทักษะครูไทย การพัฒนาระบบการบริหารจัดการการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน และการวางระบบภูมิทัศน์ในการสนับสนุนการเรียนรู้
3. สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการเตรียมคนไทย 4.0 ของโรงเรียนมาตรฐานสากล กลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ พบว่า เป็นไปในทางบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเตรียมคนไทย 4.0 ของโรงเรียนมาตรฐานสากลกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ พบว่า ด้านที่มีอำนาจพยากรณ์เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การทำงานเป็นทีม การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การพัฒนาตนเอง และการบริการที่ดี
References
กนกรัตน์ มณีเนตร และ วุฒิชัย เนียมเทศ. (2562). นวัตกรรมกับการพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 30(2), 196-208.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดล ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่งมั่งมีและยั่งยืน. กองฯ.
กุลยา ก่อสุวรรณ. (2553). การสอนเด็กที่มีความบกพร่องระดับเล็กน้อย. สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.
จักรพันธุ์ จันทร์เจริญ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ. 10(2), 45-61.
ทรงพล เทพคำ. (2557). การพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคเหนือตอนบน, วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 7(1), 1-12.
บุญชอบ พรรณนิกร. (2558). สมรรถนะหลักผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1. [ปริญญานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
พิพัฒน์พันธ์ จันทร์มณี. (2559). สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึง.
โพยม จันทร์น้อย. (2560). การศึกษา 4.0. http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9600000025195.
รักษิต สุทธิพงษ์. (2560). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากับการพัฒนาครูไทยในยุค ดิจิตอล. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19(2), 344-355.
เรชา ชูสุวรรณ. (2550). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะบุคคลที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิชิต แสงสว่าง และคณะ. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเตรียมคนไทย 4.0 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6. http://dr-wichit.com/index_files/researchwichit/r10.pdf
สุนิดา พินิจการ. (2550). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาหลักและทฤษฎีการบริหาร การศึกษา: สมรรถนะผู้บริหาร. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานนคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2548). สมรรถนะหลักของผู้บริหาร. สำนักงานฯ.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
Smith, D.T. & S, Tomlinson. (1989). The School Effect: A Study of Multi-Racial Comprehensive.Policy Studies Institute.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.