แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในชนบท กรณีศึกษา อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • ชวฤทธิ์ โยศรีคุณ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • นฤชล ธนจิตชัย วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ปริญญา โกวิทย์วิวัฒน์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ , ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต, การพัฒนาคุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพในเขตอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 211 คนเครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสภาพร่างกายที่ดี ด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ด้านสภาพอารมณ์ที่ดีด้านการตัดสินใจด้วยตนเอง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านการรวมกลุ่มทางสังคมตามลำดับ
2. ผู้สูงอายุในอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ มีความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ด้านสภาพร่างกายที่ดี
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้านการรวมกลุ่มทางสังคมด้านสภาพอารมณ์ที่ดี และด้านการตัดสินใจด้วยตนเองตามลำดับ
3. แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในเขตอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำแนกตามความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) ด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี 2) ด้านสภาพร่างกายที่ดี 3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 4) ด้านการรวมกลุ่มทางสังคม 5) ด้านสภาพอารมณ์ที่ดี และ 6) ด้านการตัดสินใจด้วยตนเอง

References

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2552). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564), ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

จันทร์เพ็ญ ลอยแก้ว. (2555). ความต้องการในการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

เจษฎา นกน้อย และ วรรณภรณ์ บริพนธ์. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา.[วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

นันทนา อยู่สบาย. (2557). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะจรเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. [ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

บรรลุ ศิริพานิช. (2553). ผู้สูงอายุไทย. สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

บังอร ธรรมศิริ. (2549). ครอบครัวกับการดูแลผู้สูงอายุ. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2434). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 6). สุวีริยาสาส์น.

พจนา ศรีเจริญ. (2544). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในสมาคมข้าราชการนอกประจำการในจังหวัดเลย. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

วันชัย ชูประดิษฐ์. (2554). การศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลลำทับ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่. [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

สุทธิพงศ์ บุญผดุง.(2554). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ระยะที่ 1). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุพร คูหา. (2552). แนวทางการปรับปรุงคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. [ปริญญานิพนธ์รัฐ-ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุมิตรา จุตโน และ ประชัน คะเนวัน. (2556). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแคน อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5(2), 105-119.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30