ปัจจัยการรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการยอมรับโครงการเปลี่ยนสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่เมืองใหญ่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ผู้แต่ง

  • พงษ์ศักดิ์ จันทร์พงษ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณัฐพล พันธุ์ภักดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การยอมรับการเปลี่ยนแปลง , การเปลี่ยนสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน, สายไฟฟ้าอากาศ, สายไฟฟ้าใต้ดิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการยอมรับโครงการเปลี่ยนสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่เมืองใหญ่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าเหนือดินเป็นระบบจำหน่ายไฟฟ้าใต้ดินที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกำหนดให้ดำเนินการ จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนที่มีอายุ และระดับการศึกษา ต่างกัน มีการยอมรับโครงการเปลี่ยนสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่เมืองใหญ่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่ต่างกัน และการรับรู้การเปลี่ยนแปลงในการนำสายไฟฟ้าอากาศลงใต้ดิน ได้แก่ ด้านการรับรู้ผลประโยชน์ ด้านการรับรู้ผลกระทบจากการเปลี่ยนสายไฟฟ้าอากาศลงใต้ดิน ด้านทัศนคติเกี่ยวกับความไม่สะดวกระหว่างการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน ด้านการพัฒนาชุมชนเมืองและด้านการสนับสนุนโครงการนำสายไฟลงดิน มีอิทธิพลต่อการยอมรับโครงการเปลี่ยนสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่เมืองใหญ่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

References

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2562). ความเหมาะสมของโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าในเมืองใหญ่. https://www.pea.co.th.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS FOR WINDOWS. พิมพ์ครั้งที่ 14. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรงยศ หวันสมาน และวรรณวิทย์ แต้มทอง. (2563). สาเหตุความล่าช้าในการก่อสร้างท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ของสถานีไฟฟ้าย่อยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วราห์วรัตน์ ทองเชื้อ. (2559). การเมืองกับโครงการสายไฟฟ้าลงใต้ดิน กรณีศึกษาจังหวัดลพบุรี. [สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วุฒิชัย มุรดา. (2556). ผลกระทบที่มีต่อประชาชนจากการขยายตัวของคอนโดมิเนียมเพื่อการพักอาศัยในเขตพื้นที่ชุมชนบางแสนบน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. [สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป]. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

หทัยกาญจน์ วรรธนสิทธิโชค. (2551). สาเหตุความล่าช้าในการก่อสร้างท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินของสถานีไฟฟ้าย่อยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Arens, W. F. (2004). Contemporary advertising. (9th ed.). McGraw-Hill.

Belch, G. E. & Belch, M. A. (2007). Advertising and promotion, an integrated marketing communications perspective. (7th ed.). McGraw-Hill.

Baruah et al. (2012). Analysis of Influencing Factors for Costs on Substation Siting Based on DEMATEL Method. Procedia Engineering. 38(2012), 2564 – 2571.

Devine-Wrighta, P. & Batel, S. (2017). “My neighborhood, my country or my planet? The influence of multiple place attachments and climate change concern on social acceptance of energy infrastructure”. Global Environmental Change. 47, 110–120.

Lienert, L. (2015). “Public acceptance of the expansion and modification of high-voltage power lines in the context of the energy transition.” Energy Policy. 87, 573–583.

Rogers, E. M. (2004). Diffusion of Innovation. The Free Press.

Vakatesh, V., Morris, M. G. & Davis, F. D. (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS Quarterly, 27(3), 425-478.

Vanclay, F. & Lawrence, G. (1995). The environmental imperative: ecosocial concerns for Australian agriculture. Rockhampton: Central Queensland University Press.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30