แนวทางการจัดการการให้บริการผู้สูงอายุติดเตียงในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุติดเตียง, การให้บริการ, ผู้บริหารระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการบริการผู้สูงอายุติดเตียงในประเทศไทย ซึ่งศึกษาทั้งปัจจัยคุณลักษณะขององค์การ ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ในการให้การบริการจากหน่วยงานภาครัฐสำหรับการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศไทย ซึ่งเก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 หน่วยงาน และสัมภาษณ์เชิงลึก ในกลุ่มผู้บริหารระบบการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง โดยเน้นสัมภาษณ์เชิงลึกจากปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน ในการจัดการองค์การในการบริการผู้สูงอายุติดเตียง และ ใช้แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ บทความวิจัย บทความวิชาการและเอกสารที่เกี่ยวกับการบริการผู้สูงอายุและผู้สูงอายุติดเตียง โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสารและทำการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลเชิงสถิติและเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า การบริการผู้สูงอายุติดเตียงในประเทศไทย มีความเกี่ยวข้องกับสภาพปัจจุบันในการบริการปัจจัยภายนอกทั้งทางตรง ทางอ้อม และมีความสอดคล้องกัน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบายการจัดการจากภาครัฐ ด้านเศรษฐกิจ งบประมาณ ด้านสังคมและชุมชน ด้านเทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านกฎหมาย และในด้านปัจจัยภายใน ผลวิเคราะห์ความแตกต่างของประสิทธิภาพการให้บริการผู้สูงอายุติดเตียงแยกตามคุณลักษณะองค์การ พบว่า สถานที่ดูแลผู้สูงอายุ จำนวนผู้ดูแล จำนวนผู้จัดการระบบ ส่งผลต่อด้านความพร้อมของประสิทธิภาพการบริการ ได้แก่ ด้านการเข้าถึงการบริการ คุณภาพการบริการ ด้านการบรรลุผลตามตัวชี้วัด ด้านความพึงพอใจในการบริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
เฉลิมวุฒิ อุตโน; จำลอง โพธิ์บุญ; และวิสาขา ภู่จินดา. (2558). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการงาน สาธารณสุของค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารร่มพฤกษ์. 33(3), 9-30.
ณัฐฐา เสวกวิหารี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโรงพยาบาลรามาธิบดี. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนพร มะยมหิน. (2556). การพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะการคิดแสวงหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์). [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล และคณะ. (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยมหิดล.
เพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์. (2560). เด็กไทยร่วม 30% มีปัญหาการคิดเชิงบริหาร. https://www.dailynews.co.th/education/612594.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2563). รายงานประจำปี 2563 กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป). (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive functions ในเด็กวัย 7 – 12 ปี สำหรับพ่อแม่และครู. บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน).
สุภาวดี หาญเมธี. (2559). ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ Executive Functions = EF. สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป).
Aguilar, F. (1967). Scanning the Business Environment. Macmillan.
Gulick, Luther., & Urwick, Lindon. (1937). Paper on the Science of Administration. Augustus M. Kelley.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.