การรับรู้ของประชาชนต่อปัจจัยที่ส่งผลกับการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2566

ผู้แต่ง

  • ระวิวรรณ ชินอ่วม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • เสรี ทองแช่ม นักวิจัยอิสระ
  • จารุวัฒน์ ติงหงะ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

การรับรู้ของประชาชน, ปัจจัยที่ส่งผลกับการเลือก, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

บทคัดย่อ

การศึกษาการรับรู้ของประชาชนต่อปัจจัยที่ส่งผลกับการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปีพ.ศ. 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของประชาชนต่อปัจจัยที่ส่งผลกับการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2566, เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ของประชาชนต่อปัจจัยที่ส่งผลกับการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปีพ.ศ.2566
และเพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปีพ.ศ.2566 ของประชาชนซึ่งประชากรที่ศึกษาคือ ประชาชน ที่มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 52,554,955 คน และกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาจำนวน 1,083 คน โดยใช้ตารางของ เครจซีและมอร์แกน ผลของการวิจัย พบว่า การรับรู้ของประชาชนจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลที่มีต่อปัจจัยที่ส่งผลกับการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ.2566 อยู่ในระดับมาก และระดับการรับรู้ของประชาชนต่อปัจจัยที่ส่งผลกับการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2566 ไม่แตกต่างกัน เมื่อทำการสังเคราะห์ผลการวิจัย ทำให้ทราบว่านอกจากปัจจัยพรรคการเมือง และผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้ว ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ บุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ส่งผลกับการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างมาก เพราะเปรียบเสมือนการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกนายกรัฐมนตรีทางอ้อม

References

จิรัชยา กลับดี. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนอำเภอหาดใหญ่. วารสารรัชต์ภาคย์. 15(41), 259-272.

ปิยะรัตน์ สนแจ้ง. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร: กรณีศึกษาชาวกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง]. มหาวิทยาลัยเกริก.

พิมพ์ชนา คำขำ. (2560). การเข้าสู่ตำแหน่ง ส.ส. ของตระกูล พ.ต.อ.ตันเจริญ. [การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิไลวรรณ กนกทัณฑ์. (2560). จิตสำนึกทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิกิพีเดีย. (2565). การเลือกตั้งทั่วไปสภาผู้แทนราษฎรไทย พ.ศ. 2566. https://shorturl.asia/b07XM.

สำนักงานบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง. https://www.bora.dopa.go.th/

อดิศักดิ์ จันทร์วิทัน. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์: การศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2559. [สารนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง]. มหาวิทยาลัยเกริก.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. Harper & Row.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607–610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30