แนวทางการส่งเสริมช่องทางการตลาดที่สร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจตำบลเกาะหลัก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • กานต์ วัฒนะประทีป วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • ทิพย์สุดา หมื่นหาญ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • สุภาวดี สมศรี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, ช่องทางการตลาด, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและศึกษาแนวทางการส่งเสริมช่องทางการตลาดที่สร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจตำบลเกาะหลัก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง
       ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาของกลุ่มวิสาหกิจตำบลเกาะหลัก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ 1) ปัญหาด้านการบริหารจัดการ พบว่าสมาชิกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุขาดองค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์การตลาด ทักษะการสื่อสาร การจัดตั้งราคาสินค้ายังไม่เหมาะสม การขนส่งมีต้นทุนสูง แหล่งจำหน่ายสินค้ายังไม่เป็นที่หลากหลาย และมีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด 2) ปัญหาด้านเทคโนโลยี พบว่า สมาชิกเป็นกลุ่มผู้สูงอายุขาดทักษะการสื่อสารออนไลน์ การถ่ายภาพ การโฆษณาในสื่อออนไลน์ และการใช้เครื่องมือสื่อสารผ่านสื่อสังคม (Social media) 3) ปัญหาด้านการตลาด พบว่า สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาช่องทางการตลาดเชิงสร้างสรรค์ การผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด บุคลากรด้านการตลาด ประสบการณ์ด้านการขายและการตลาด สถานที่ตั้งร้านค้าแบบออฟไลน์ ตัวแทนจำหน่ายในการขยายตลาด สำหรับแนวทางการส่งเสริมช่องทางการตลาดที่สร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจตำบลเกาะหลัก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ด้านช่องทางการตลาดผ่านออนไลน์ ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้าง Facebook Page มีการวางแผนในการโพสต์ผ่านสื่อ Facebook Page อย่างสม่ำเสมอ และการขายผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ และด้านช่องทางการตลาดผ่านออฟไลน์ ควรมีการจัดแสดงสินค้า เพื่อเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน และควรสนับสนุนให้มีการเข้าร่วมงานจัดแสดงสินค้าตามงาน OTOP ในพื้นที่ต่าง ๆ

References

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2566). กรมส่งเสริมการเกษตร. http://www.sceb.doae.go.th/.

จรินทร์ จารุเสน และ ธันย์นิชา วิโรจน์รุจน์. (2565). การบริหารช่องทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าบนอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคอตตอนดีไซน์ จังหวัดปทุมธานี. วารสารศิลปะการจัดการ, 6(1), 160-174.

ณฐมน กัสปะ และ ฐิตารีย์ ศิริมงคล. (2564). ส่วนประสมทางการตลาด 4C’s ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (เฟสบุ๊ค) ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 100-114.

ธัชพล ยรรยง พระมหากิตติ กิตฺติเมธี และ พระมหาอนันต์ องกุรสิริ. (2561). กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนจังหวัดน่าน. รายงานวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน.

ปิยะดา มณีนิล. (2565). ปัญหาและความต้องการเพื่อการพัฒนากลุ่มอาชีพผู้สูงอายุ (ผ้ามัดย้อม) ตำบลท่าสาป จังหวัดยะลา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 12(4), 9-16.

เมทิกา พ่วงแสง และ หญิง มัทนัง. (2563). แนวทางการส่งเสริมการตลาดสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีบ้านบึง ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(2), 55-65.

วราภรณ์ อ่อนคำ พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์ วรฉัตร วริวรรณ และ สุริยา ปัญญจิตร. (2564). ศักยภาพในการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกรณีศึกษากลุ่มอาชีพการทอเสื่อกก แม่บ้านตะวันสีทอง บ้านท่าเสียว ตำบลสะอาด อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(6), 255-270.

วิมลสิริ กูกขุนทด ณัฐชนน มาพิจารณ์ อิสสราพร กล่อมกล่ำนุ่ม และ ณัฐพล บ้านไร่. (2563). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จ : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตและพัฒนาการแปรรูปกล้วยตำบลระหาน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร. การประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นและสังคมระดับชาติ(CSD สัมพันธ์) ครั้งที่ 19 “นวัตกรรมการพัฒนาสู่ความยั่งยืน”, 27–30 มกราคม 2563. 671-678. ลำปาง: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง.

สำนักงานเกษตรนนทบุรี. (2564). วิสาหกิจชุมชน. รายงานสำนักงานเกษตรนนทบุรี.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ตัวชี้วัดการพัฒนาระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อัจฉราภรณ์ จุฑาผาด และ อินทร อินอุนโชติ. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เลม่อน เฟรชฟาร์ม 101 บ้านดอนหาด ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 5(1), 31-45.

Duffett, R. G. (2017). Influence of social media marketing communications on young consumers’ attitudes. https://www.emerald.com/insight/content/doi/10.1108/YC-07-2016-00622/full/html.

John Mathew. (2014). The Competitve Advantage of Michael E. Porter in MorgenWitzel and MalcomWarner. The Oxford Handbook of Management thesis 481-507. Oxford University press.

Sharma, U, & Thakurm, K.S. (2020). A Study on Digital Marketing and its Impact on Consumers Purchase. International Journal of Advanced Science and Technology. 29(3). http://sersc.org/journals/index.php/IJAST/article/view/30970.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28