แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจซอฟต์แวร์ประยุกต์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ฐิวากร ธัชหิรัญ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ชัยวุฒิ จันมา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • เกียรติชัย วีระญาณนนท์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การจัดการเชิงการจัดการ, ประสิทธิภาพการดำเนินงาน, ธุรกิจซอฟต์แวร์ประยุกต์

บทคัดย่อ

การวิจัยแนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจซอฟต์แวร์ประยุกต์ในประเทศไทย โดยศึกษาจากผู้ประกอบการ 426 บริษัทและ ผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องธุรกิจฯ รวม 20 คน พบว่า สภาพปัจจุบันประสบปัญหา 2 ด้านดังนี้ ขาดแคลนบุคลากรทั้งด้านกำลังพลและทักษะที่จำเป็น และขาดเงินทุนเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ การวิเคราะห์ความแตกต่างของประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจฯจำแนกตามคุณลักษณะองค์กร ด้วย One-way ANOVA พบว่า ประสิทธิภาพการดำเนินงานแตกต่างกันตามจังหวัดที่ตั้ง อายุธุรกิจ ทุนจดทะเบียน จำนวนพนักงาน ประเภทผลิตภัณฑ์และบริการ และกลุ่มลูกค้าหลัก การวิเคราะห์ปัจจัยการจัดการองค์กรส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจฯ (MRA) พบว่าปัจจัยการจัดการองค์กรดังนี้ กลยุทธ์องค์กร การจัดการกำลังคน การพัฒนาทักษะบุคลากร การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ การบริการหลังการขาย และการบริหารเงินทุนส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจ และสังเคราะห์แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจฯ ได้ 4 แนวทาง คือ การกำหนดกลยุทธ์องค์กร การกำหนดแนวทางการบริหารเงินทุน การกำหนดแนวทางการบริการหลังการขาย และการกำหนดการบริหารความเสี่ยง

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2559). ธุรกิจจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2558). Financial Soundness Indicators.กรอบการจัดทำ และการประยุกต์ใช้. ธนาคารแห่งประเทศไทย.

พิพัฒน์ โกวิทคณิต. (2557). สัมฤทธิผลในการใช้นโยบายการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลาง (SME) ด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์. วารสารวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี. 9(2), 42-57.

สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2562). ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovative SMEs): ประเภทธุรกิจซอฟต์แวร์. โรงพิมพ์ ปัณณธร มีเดีย.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2564). ผลสำรวจข้อมูลและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ และบริการด้านดิจิทัล ประจำปี 2563 คาดการณ์แนวโน้ม 3 ปี. https://shorturl.asia/SyphX.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.). (2562). แนวโน้มความต้องการบุคคลากรในอุตสาหกรรมเป้าหมายแห้งอนาคด New S-Curve และทิศทางนโยบายการพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2563-2567. พริ้นเอเบิ้ล.

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. (2564). Top 10 Digital Transformation Trends for 2021. https://shorturl.asia/y0Ygz.

Allen, L. (1978). The Louis A. Allen principles of professional management. Louis A. Allen Associates.

DEPA. (2563). ผลการสำรวจข้อมูลและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมดิจิทัล ปี 2561-2562 คาดการณ์ 3 ปี. https://www.depa.or.th/th/article-view/income-data-statistics-2561-2562.

McKinsey & Company. (2021). Enduring Ideas: The 7-S Framework. McKinsey Quarterly. https://shorturl.asia/q4LGj.

Parasuraman, A. P., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple- Item Scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing. 62(1), 12-40.

Perdomo, Wilder & Zapata, Carlos M. (2021). Software quality measures and their relationship with the states of the software system alpha. Ingeniare. Revista chilena de ingeniería. 29(2), 346-363.

Waiba, Phurba Sonam, Limboo, Aita Raj & Sherub, Jigme. (2021). A servqual assessment of internet service quality in Bhutan. International Journal of Engineering Applied Sciences and Technology. 5(10), 66-73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28