การพัฒนาเว็บไซต์ฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก

ผู้แต่ง

  • ฤทัยกัญญา ชูทอง คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

เว็บไซต์ฝึกอบรมออนไลน์, การออกแบบสื่ออินโฟกราฟิก

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาเว็บไซต์ฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการออกแบบสื่ออินโฟกราฟิก ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก 2) ศึกษาผลการใช้เว็บไซต์ฝึกอบรมออนไลน์ของครูที่ปฏิบัติหน้าที่ประชาสัมพันธ์โรงเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าอบรม กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูประชาสัมพันธ์โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก จำนวน 21 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน รวมจำนวน 42 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เว็บไซต์ฝึกอบรมออนไลน์ 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อของการพัฒนาเว็บไซต์ฝึกอบรมออนไลน์ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที
       ผลการศึกษาพบว่า 1) เว็บไซต์ฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการออกแบบสื่ออินโฟกราฟิก ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก ที่สร้างขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อเว็บไซต์ฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการออกแบบสื่ออินโฟกราฟิก ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก ในระดับมากที่สุด

References

กฤษณา สิกขมาน. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการสื่อสารภาษาองกฤษธุรกิจโดยการใช้การสอนแบบ E-Learning. [รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

กุลนิษฐ์ วงศ์แก้ว. (2564). การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บด้วย Google Site เรื่อง โครงงานอาชีพ เห็ดสวรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร.

เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ. (2554). ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ในงานส่งเสริมการเกษตร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563, 2-39.

ณัฐสักก์ เรืองสำอาง. (2559). การพัฒนาแผนที่อินโฟกราฟิกแบบมีปฏิสัมพันธ์บนอินเทอร์เน็ตเพื่อการ ประชาสัมพันธ์สถานที่สำคัญในโรงพยาบาลศิริราช. [ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ทยาภรณ์ ตุ้มสุข. (2559). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน Google Site เรื่องระบบเรดาร์สำหรับกรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าพระนครเหนือ.

นัจภัค มีอุสาห์. (2556). อิทธิพลของชุดข้อมูลและสีสันต่อความเข้าใจเนื้อหาของภาพอินโฟกราฟิก. [ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรี.

บุญญนี เพชรสีเงิน รัฐพร กลิ่นมาลี และ ธณัฐชา รัตนพันธ์. (2560). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บด้วย Google Site รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 9. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

บุญฤทธิ์ กาวี และภัทริณี คงชู. (2565). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ด้วยเว็บไซต์ Google sites รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (น.1540-1546). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.

เบ็ญจวรรณ อินทรชิต. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมโดยใช้เทคนิค KWL-Plus เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และเขียนสรุปความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พัทน์ ภัทรนุธาพร. (2556). ว่าด้วยอินโฟกราฟิกการสื่อสารข้อมูลผ่านกราฟฟิก. https://shorturl.asia/7FPrm.

ลักษณา สตะเวทิน. (2554). หลักการประชาสัมพันธ์(พิมพ์ครั้งที่ 2). เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.

วรัชญ์ ครุจิต. (2555). รู้ทันสื่อ: แนวทาง 10 ประการในการบูรณาการ “ความรู้เท่าทันสื่อ” เข้ากับการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ออฟเซ็ทพลัส จำกัด.

ศราวุธ น้อยลา. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง ภาพพจน์ในวรรณคดีโดยการเรียนรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้ผ่านเว็บ ไชต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อรุณรัตน์ ชินวรณ์. (2553). สื่อประชาสัมพันธ์.สํานักพิมพ์เเห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกนฤน บางท่าไม้. (2558). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริม การใช้อินเทอร์เน็ตเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร:นครปฐม. DOI: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/SU.res.2015.16.

Bicen, H. & Beheshti, M. (2017). The Psychological Impact of Infographics in Education. BRAIN - Broad Research in Artificial Intelligence and Neuroscience, 8(4), 99-108.

Ghode R. (2012). Infographics in news presentation: A Study of its Effective Use in times of India and Indian Express the two Leading newspapers in India. Journal of Business Management & Social Sciences Research, 1(1), 35-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28