การวิคราะห์ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการการขนส่งแบบสีเขียว ของบริษัทขนส่งในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • อนุวัต เจริญสุข คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • จงโปรด คชภูมิ คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • วิไลรัตน์ เจริญไหมรุ่งเรือง คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ขนส่งแบบสีเขียว, การวิเคราะห์องค์ประกอบ, อุปสรรค

บทคัดย่อ

       จุดมุ่งหมายของงานวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการขนส่งแบบสีเขียว  ของบริษัทขนส่งในเขตกรุงเทพและปริมณฑล กลุ่มที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้าพนักงาน และพนักงานผู้รับผิดชอบในการจัดการด้านโลจิสติกส์ของบริษัทในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 200 บริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ค่าสถิติได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

       ผลการศึกษารายด้านพบว่า ด้านเชื้อเพลิงมีอิทธิพลที่เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการขนส่งแบบสีเขียว มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสภาพจราจร ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการขนส่งแบบสีเขียว ของบริษัทขนส่งในเขตกรุงเทพและปริมณฑล วิเคราะห์ได้ทั้งหมด 8 องค์ประกอบ โดยพบว่า องค์ประกอบที่มีน้ำหนักขององค์ประกอบมากที่สุด คือ องค์ประกอบด้านความตระหนักและความพร้อมขององค์กร อันดับ 2 ด้านผลกระทบจากการขนส่งสินค้า อันดับ 3 ด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการขนส่งสินค้า อันดับ 4 ด้านการบริการเชื้อเพลิง อันดับ 5 ด้านปัญหาการจราจร อันดับ 6 ด้านความร่วมมือกับคู่ค้าและสถานีบริการ อันดับ 7 ด้านนโยบาย และอันดับ 8 ด้านความพร้อมของผู้บริหาร

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 6. โรงพิมพ์ บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่7. โรงพิมพ์ เทพนิมิตการพิมพ์.

ทวินันท์ สิมะจารึก และคณะ. (2552). การลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง กรณีศึกษาโรงงานเคมีภัณฑ์. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8 (ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี, (2550). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cosimato, S., & Troisi, O. (2015). Green supply chain management practices and tools for logistics competitiveness and sustainability: The DHL case study. The TQM Journal, 27(2), 256-276.

Cronbach, I. J. (1970). Essentials of Psychological testing. (3rd ed). University of Chicago Press.

George, D., & Mallery P., (2003). SPSS for Windows step by step: A simple guide and reference. (4th ed.). Allyn & Baco.

Ivascua, L., Mocana, M., Draghicia, A., Turia, A., & Rusa, S., (2015). Modeling the green supply chain in the context of sustainable development. Procedia Economics and Finance, 26, 702-708.

Kumar, A. (2015). Green Logistics for sustainable development: an analytical review. IOSRD International Journal of Business, 1(1), 7- 13.

Perotti, S., Zorzini, M., Cagno, E., & Micheli, G, J.L. (2012). Green supply chain practices and company performance: the case of PLs in Italy. International Journal of Physical Distribution & Logistics Management, 42(7), 640-672.

Rao, P. (2007). Greening of the supply chain: an empirical study for SMES in the Philippine context. Journal of Asia Business Studies, 1(2), 55-56.

Tippayawonga, K. Y., Tiwaratreewitb, T., & Sopadanga, A. (2015). Positive influence of green supply chain operations on Thai electronic firms’ financial performance. Procedia Engineering, 118, 683–690.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30