คุณลักษณะของผู้ทรงอิทธิพลกับการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ศิรินธร เอี๊ยบศิริเมธี วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ผู้ทรงอิทธิพล, สื่อสังคมออนไลน์, การเปิดรับข่าวสาร, พฤติกรรมผู้บริโภค

บทคัดย่อ

       การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่ในจังหวัดนนทบุรี 2) ศึกษาความคิดเห็นของคุณลักษณะผู้ทรงอิทธิพลที่ส่งผลกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรีที่เคยซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์หาค่าทางสถิติ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
       ผลการวิจัยพบว่า
       1. การเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อของผู้บริโภคส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรีในระดับเปิดรับมาก โดยมีการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ทาง TikTok มากที่สุด รองลงมาคือ YouTube,Instagram, Facebook, X และ Website ตามลำดับ
       2. คุณลักษณะของผู้ทรงอิทธิพลส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย ด้านความเหมือน ด้านความชำนาญ ด้านความดึงดูด ด้านความไว้วางใจ และด้านความเคารพ ตามลำดับ
       3. คุณลักษณะของผู้ทรงมีอิทธิพลด้านความดึงดูด ด้านความเคารพ และด้านความเหมือนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี
       4. การเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อ TikTok, YouTube และ FaceBook มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี

References

กรกนก ละออ. (2560). โฆษณาแฝงบนสื่อวิดีโอออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค กรณีศึกษา FaceBook Fan Page. [สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต]. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

กระทรวงดิจิทัล. (2565). รายงานผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูล,สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

จริยา ศรีจรูญ.(2563).ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการเซ้าธ์อีสท์บางกอก(สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2),1-13.

จิดาภา ธัญญรัตนวานิช.(2564).ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(1), 311-323.

เจณิภา คงอิ่ม.(2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในจังหวัดนนทบุรี. Journal of Buddhist Innovation and Management, 6(4), 122-132.

ชนิดา จุลรัตนมณี และดนุพล หุ่นโสภณ. (2557). อิทธิพลของผู้แนะนำสินค้าที่เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง ด้านกีฬาที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของบริโภค. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โชติกา วิบูลย์ศิริวงศ์. (2560). การโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางออนไลน์ (อินสตา-แกรม) ในเขต กรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธนัญญา แสวงหาบุญ. (2565). ศึกษาการโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บํารุงผิวหน้าเคาน์เตอร์แบรนด์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธนรัช เสมอภาค. (2564). การรับรู้สื่อโฆษณาที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(1), 285-298.

ทวีรัชต์ คงรชต. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ของคนวัยทำงานในจังหวัดนนทบุรี.วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 12(16), 40-60.

นัทชนิดา วัชรินทร. (2562). รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคหญิงวัยทำงาน.[วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัคจิรา ชูขำ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทอาหารผ่านการรีวิวจากสื่อออนไลน์.[สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต]. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภัทร์หทัย เฑียรเดช และศุภมณฑา สุภานันท์. (2561). ศึกษาการเปิดรับข้อมูล การเลือกรับสื่อ และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคผ่านช่องทางสื่อดิจิทัลที่มีต่อธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นไทย. BU Academic Review, 17(1), 145-157.

ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2547). Brand management. เลิฟ แอนด์ลิฟ.

ศิริพัทร บุญพิมพ์ และ วีรพงษ์ พวงเล็ก. (2565). การเปิดรับสื่อโฆษณาบนสื่อสังคมออนไลน์และการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเครื่องสำอางของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารวิจัยธรรมศึกษาศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม,15(1), 176-187.

อุทัยวรรณ คุ้มบล.(ออนไลน์).การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin92/6214154598.pdf

Bovee, K. D. (1995). A comprehensive overview of the instream flow incremental methodology. National Biological Service, Fort Collins.

Cochran, W.G. (1977). Sampling techniques. 3rd Ed, John Wiley and Sons, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30