รูปแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ ด้านสุขภาพสำหรับเด็กและเยาวชนของสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
การศึกษาตามอัธยาศัย, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, เด็กและเยาวชน, สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของเด็กและเยาวชนและสภาพการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับเด็กและเยาวชนของสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย และ 2) พัฒนารูปแบบการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับเด็กและเยาวชนของสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณา แบ่งการวิจัยออกเป็นขั้นตอน ตอนที่ 1 ศึกษาบริบทของกลุ่มเป้าหมายและสภาพการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย มีกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เด็กและเยาวชน ซึ่งเคยเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่องในระหว่างปีงบประมาณ 2564-2566 จำนวน 380 คน ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และผู้บริหารสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย จำนวน 5 คน ใช้เทคนิคการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดหมวดหมู่ข้อมูล ตอนที่ 2 ออกแบบรูปแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 14 คน เลือกกลุ่มเป้าหมายโดยวิธีเฉพาะเจาะจง มีประเด็นสนทนากลุ่มและแบบบันทึกการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทของเด็กและเยาวชน มีระดับความสนใจเนื้อหาการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพทุกด้านอยู่ในระดับมาก ลีลาการเรียนรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก และสื่อและสิ่งอำนวยความสะดวกทุกด้านอยู่ในระดับมาก และสภาพการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย พบว่า มีวิธีการจัดและการใช้สื่อหลากหลาย จัดสภาพแวดล้อมทางด้านจินตภาพและสังคมภาพนำแหล่งวิทยการเพื่อการเรียนรู้ของหน่วยงานอื่นมาประยุกต์ใช้ กิจกรรมการเรียนรู้เข้าถึงเด็กและเยาวชนจำนวนมาก ปัญหาที่พบครอบคลุมปัจจัยภายในและภายนอก 2) รูปแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับเด็ก และเยาวชนของสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ แนวคิดการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ และการประเมิน
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (ม.ป.ป.). เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหสวรรษ. http://e-plan.dla.go.th /activityImage/422.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานศึกษา ฉบับลงวันที่ 10 เมษายน 2560. กระทรวงศึกษาธิการ.
กองสุขศึกษา. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.
กองสุขศึกษา. (2563). รวมเทคนิคการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับกลุ่มวัยทำงาน. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.
กองสุขศึกษา. (2565). สรุปผลการประเมินศักยภาพในการจัดการสุขภาพตนเองของประชาชนกลุ่มเป้าหมายปีงบประมาณ 2565. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.
กัมปนาท บริบูรณ์. (2564). หน่วยที่ 6 การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับผู้สูงอายุ การเรียนรู้เพื่อชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
คมกฤช จันทร์ขจร. (2551). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล. (2560). หน่วยที่ 15 การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จิตวิทยาและวิทยาการกรเรียนรู้. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชนินทร์ ต่วนชะเอม. (2557). การพัฒนากระบวนการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาวะสำหรับพระสงฆ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย. (2558). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเยาวชน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัชชา พัฒนะนุกิจ. (2559). การดำเนินงานการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทรรศนีย์ บุญมั่น. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ทิศนา แขมมณี. (2566). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 26). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรวันท์ โอภาสบุตร และพลอยชนก พรวสุรัตน์. (2564) ประสิทธิผลของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กรของสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์. 20(2), 114-138.
นฤมล ตันธสุรเศรษฐ์. (2562). หน่วยที่ 1 การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การจัดการศึกษานอกระบบ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2551-2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก หน้า 1.
พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2551. (2551, 14 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125 ตอนที่ 9 ก หน้า 1-15.
มุตตาฝา ล่าเห. (2560). ความต้องการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของผู้เรียนในจังหวัดปัตตานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 1-90.
วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. (2561). การศึกษาตามอัธยาศัย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรัตน์ อภินันท์กูล. (2551). แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบโรงเรียน. ใน วรรัตน์ อภินันท์กูล (บ.ก.), แนวคิดและทฤษฎีที่น่ารู้ทางการศึกษานอกระบบโรงเรียน (น. 171-194). คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ:แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี. 44(3), 183-197.
วิศนี ศิลตระกูล. (2557). หน่วยที่ 6 ปรัชญาและหลักการการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษานอกระบบ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศักดิ์คเรศ ประกอบผล. (2563). การวิเคราะห์ผู้เรียน:ลีลาการเรียนรู้. ครุศาสตร์สาร. 14(12), 1-14.
สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย. (2562). ประวัติองค์กร. สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย. https://www.tyithailand.or.th/about-us/.
สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย. (2563). ประกาศสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย เรื่อง จุดเน้นการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ประจำปีงบประมาณ 2564-2566. สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย.
สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย. (2564). โครงการสร้างเยาวชนนักสื่อสารเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ. สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย.
สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย. (2565). โครงการสร้างเสริมเครือข่ายและสื่อสารกับคนรุ่นใหม่สู่ความรอบรู้ทางสุขภาพและประเด็นภัยจากการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ประจำปี 2565. สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย.
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. (2559). รายงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การปฏิรูปความรอบรู้และการสื่อสารสุขภาพ. สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ.
สมประสงค์ วิทยเกียรติ. (2554). หน่วยที่ 5 หลักการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ปรัชญาและหลักการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศไทย. พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564. https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/survey_detail/w6
สุนีย์ กันแจ่ม และคณะ. (2562). ความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์, 2562(1), 33-43.
อานนท์ สังขะพงษ์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ทางสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.