การพัฒนาครีมนวดผมผสมเซรั่มดอกอัญชันขาว น้ำแร่พระร่วง วิสาหกิจชุมชนไบร์ท-อัพ น้ำแร่เมืองกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศรี ยวงแก้ว คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • บุณยกฤต รัตนพันธุ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ราตรี สิทธิพงษ์ คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

ครีมนวดผม, แผนธุรกิจ, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสัดส่วนครีมนวดผมผสมเซรั่มดอกอัญชันขาว น้ำแร่พระร่วงให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและให้ได้มาตรฐาน 2) ให้ความรู้ในการทำแผนธุรกิจให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไบร์ท-อัพ น้ำแร่เมืองกำแพงเพชรเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไบร์ท-อัพ น้ำแร่เมืองกำแพงเพชร 20 คน, การทดลองในห้อง ปฏิบัติการ, แบบสอบถามกับผู้บริโภค 400 คน และการประชุมเชิงปฏิบัติการกับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไบร์ท-อัพ  20 คน

       ผลการวิจัย พบว่า 1. สัดส่วนครีมนวดผมผสมเซรั่มดอกอัญชันขาว น้ำแร่พระร่วง ที่ผ่านการทดลองในห้องปฏิบัติการแล้วใน 1 ขวดๆ ละ 350 ml. ได้แก่ (1) สารปรับสภาพบำรุงเส้นผม ร้อยละ19.31 (2) สารสร้างเนื้อครีมนวดผม ร้อยละ 19.31 (3) โซเดียมไฮยารูรอน ร้อยละ 0.93 (4) สารทำให้ผมนุ่ม ร้อยละ 0.04 (5) น้ำหอมเฉพาะกลิ่น ร้อยละ 1.45 (6) สารสกัดจากดอกอัญชัญขาว ร้อยละ 1.00 (7) สารกันเสีย ร้อยละ 0.06 และ (8) น้ำแร่ ร้อยละ 57.92 ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2564) เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส ผลิตภัณฑ์ปรับสภาพเส้นผมและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ซึ่งพบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ครีมนวดผมผสมเซรั่มดอกอัญชันขาว น้ำแร่พระร่วง ในภาพรวมระดับมาก โดยมีความพึงพอใจมากที่สุดในเรื่องผมหวีง่าย (ค่าเฉลี่ย 4.08) รองลงมาคือ กลิ่นหอมของเนื้อครีม (ค่าเฉลี่ย 3.92) และความง่ายในการล้างออก (ค่าเฉลี่ย 3.82) ตามลำดับ 2. การให้ความรู้ในการทำแผนธุรกิจ พบว่า ทางกลุ่มสามารถประยุกต์ใช้โมเดลธุรกิจ 9 หัวข้อ ได้ร้อยละ 70 ขึ้นไป ได้แก่ 1) กลุ่มลูกค้า 2) การเสนอคุณค่า 3) ความสัมพันธ์กับลูกค้า 4) ช่องทาง 5) กระแสรายได้ 6) พันธมิตรหลัก 7) กิจกรรมหลัก 8) ทรัพยากรหลัก และ 9) โครงสร้างต้นทุน

References

กชกร ชำนาญกิตติชัย และคณะ. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 18(2), 360-371.

กฤตชน วงศ์รัตน์ โสภาพร กล่ำสกุล และกนกพร บุญธรรม. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวสูตรเข้มข้นน้ำมันมะพร้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของวิสาหกิจชุมชนบ้านแสงอรุณ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิจัยและพัฒนา, 17(1), หน้า 63-73.

ณัฏฐิณี ธีรกุลกิตติพงศ์ และคณะ. (2564). การวิจัยทางคลินิกและการพัฒนาสูตรตำรับเซรั่มเข้มข้นจากสารสกัดสมุนไพรในการป้องกันผมร่วง กระตุ้นการงอกของผมและเพิ่มการสร้างเม็ดสีให้ผมเส้นขาวในผู้สูงอายุ. http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4423

มณีกัญญา นากามัทสึ อภิรัช และคณะ. (2566). การสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวจากขี้ผึ้งและไขมะพร้าวรูปครีมสติ๊ก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 7(1), 95-111.

วิไลลักษณ์ สุกใส และคณะ. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมนวดผมที่่มีส่วนผสมของสารสกัดเปลือกส้มโชกุุน. วารสารการแพทย์ศิริราช, 15(3), 138-145.

อนุสรณ์ หนองบัว และ ธเนศ ศิรินุมาศ. (2566). Business Model Canvas (BMC). https://www.itd.or.th/wp-content/uploads/2020/01/itdevent03022020-04.pdf.

เอื้อมพร โชคช่วยอำนวย. (31 พฤษภาคม 2566). สัมภาษณ์ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนไบร์ท-อัพ น้ำแร่ เมืองกำแพงเพชร. สัมภาษณ์.

Maricar, R., Syahribulan, S., Rosmiati, R., and elliyana, e. (2022). Application of business model canvas (bmc) in could help students develop a more entrepreneurial mindset. (2022). Economy Deposit Journal (E-DJ). 4(1) 2022, 232-240.

Rizan, M., Sumantuti, E., Prabowo, H., Kresnamurti, A., and Hanoum, F. (2024). The role of business model canvas (BMC) in digital entrepreneurship on students’ interest in Indonesia. Jurnal Riset Manajemen Sains Indonesia. 15(1) 2024, 109-124.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30