ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • เพียรใจ โพธิ์ถาวร หลักสูตรบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • พรทิพย์ ตันติวิเศษศักดิ์ หลักสูตรธุรกิจระหว่างประเทศ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, พฤติกรรมการใช้จ่าย, ปัจจัยทางสังคม

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรม
การใช้จ่ายของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ

         จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ระดับรายได้ต่อเดือน จำนวนสมาชิกในครอบครัว โรคประจำตัว และการเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ส่งผลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการใช้จ่าย ในขณะที่เพศ สถานภาพการสมรส แหล่งที่มาของรายได้หลัก การพักอาศัยอยู่กับใคร และการเป็นผู้มีค่าใช้จ่ายหลักในครอบครัวส่งผลเชิงลบกับพฤติกรรมการบริโภคของผู้สูงอายุในกรุงเทพและปริมณฑล

         สำหรับปัจจัยทางสังคมนั้น ด้านค่านิยมของสังคมและการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงส่งผลเชิงบวก ในขณะที่ปัจจัยด้านทัศนคติส่งผลเชิงบวกกับค่าเดินทาง/พาหนะ แต่ส่งผลเชิงลบกับค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยและค่าประกันภัย

         นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพและปริมณฑลมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนสูงสุด 3  ลำดับแรก จากค่าใช้จ่าย 15 ประเภท คือ ประเภทอาหาร และเครื่องดื่มเป็นเงิน 6,065.03 บาท ต่อ ค่าลงทุนเป็นเงิน 6,057.79 บาทต่อเดือน  และค่าเล่าเรียนบุตรหลาน/ผู้อยู่ในอุปการะเป็นเงิน 4,673.09 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 14.96, 4.94 และ 11.52 ตามลำดับ

References

กนกวรรณ เหลืองมงคลเลิศ. (10 กุมภาพันธ์ 2567). เกาะกระแส. ไทยพับลิก้า. https://thaipublica.org/2024/02/thailand-becomes-aged-society/

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2565. บริษัทอัมรินทร์พรินติ้งแอนพับลิชชิ่งจํากัด(มหาชน).

กรมสุขภาพจิต. (2566). รายงานประจำปี 2566. กระทรวงสาธารณสุข. https://dmh.go.th/report/dmh/rpt_year

กวิสรา จันทร์พันธ์ และ พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะ ครั้งที่ 4 (565-575). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กานต์พิชชา ศุภฤกษ์สกุล. (2561). ทัศนคติ และความสนใจของผ้สูงอายุที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์ครื่องดื่มเพื่อสุขภาพผ่านการตลาดเชิงเนื้อหา (Content Marketing) กรณีศึกษาช่องทาง Facebook ในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล

เกล็ดดาว หมอกเมือง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชวฤทธิ์ โยศรีคุณ, นฤชล ธนจิตชัย และปริญญา โกวิทย์วิวัฒน์. (2566). แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในชนบท กรณีศึกษา อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. 12(1).50-57.

ต้อยตุลา นาคสกุล, สงกรานต์ จรรจลานิมิต, และ อนุชมา ธูปแก้ว. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้ของผู้สูงอายุ. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 6, (261-266). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ธนวัฒน์ แสงสุนานนท์ และ ณิตชาธร ภาโนมัย. (2566). พฤติกรรมการบริโภคและการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ และความงามของกลุ่มวัยผู้ใหญ่ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 1 เทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพ. 16(1), 57-71.

นริสรา พึ่งโพธิ์สภ และ ฐาศุกร์ จันประเสริฐ. (2557). ปัจจัยด้านจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการวิเคราะห์อภิมาน. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, 20(1), 35-52.

นันทวัน ภูมีนอก, สกาวรัตน์ พู่ขจี และ พรทิพย์ ชุ่มเมืองปัก. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้ออุปกรณ์เสริมความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร, วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, (2562), 15(8), 47-68.

นันทิตา อินธรรมมา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปราณี เอี่ยมละออภักดี. (2551). การบริหารการตลาด. พิมพ์คร้ังที่ 3. ธนาเพรส.

พรปวีณ โพธิมาศ และ ทิพย์วรรณา งามศักดิ์. (2565) การศึกษาทัศนคติต่อพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ถึงความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. Journal of Modern Learning Development, 8(5). 49-63.

พรพนา สุทธิบุตร และ อนัสปรีย์ ไชยวรรณ. (2560). พฤติกรรมการออมและรูปแบบการออมของผู้สูงอายุในอําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. https://shorturl.asia/6tBOd

พรรษมนต์ จันทร์เทาว์. (2550). พฤติกรรมการใช้จ่ายของ ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ที่ได้รับเบี้ยยังชีพจากรัฐบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ (2546) ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 1. กรมกิจการผู้สูงอายุ.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

เยาวภา ปฐมศิริกุล, โชติรัส ชวนิชย์, เริ่ม ใสแจ่ม และ รัฐพล สันสน. (2560). พฤติกรรมการซื้อและโอกาสการตัดสินใจซื้อสินค้ากลุ่มเสื้อผ้าและ รองเท้าของลูกค้าผู้สูงอายุในประเทศไทย, วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), 178-192.

วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และ อนุสรณ์ จันดาแสง. (2558). การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 21(1), 179-188.

วราวุฒิ เรือนคำ และ สุพรรณิการ์ ขวัญเมือง. (2020). พฤติกรรมและปัจจัยต่อการบริโภคสินค้าและบริการเพื่อผู้สูงอายุในพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 7(2). 39-56.

วิรุท นนสุรัตน์. (2562). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 8. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 2562, 16(3), 130-137.

วุฒิภัทร บุญญะถาวรชัย และยอดมนี เทพานนท์ (2563, สิงหาคม 13). ทัศนคติและการบริการที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. การประชุมนำเสนอผลงานระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต ครั้งที่15. 895-908.

ศาสตทัศน์ เลขะวณิช. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออมเงินใช้ในยามเกษียณอายุของข้าราชการกรมสรรพากร (สำนักงานใหญ่).[การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สรุปผลที่สำคัญ การทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2565. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

องค์กรสหประชาติ. (2020). คำนิยามผู้สูงอายุ. https://shorturl.asia/vp8cb

อภิชญา จิ๋วพัฒนกุล, วรางคณา อดิศรประเสริฐ และ ศุภิณญา ญาณสมบูรณ์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมและการใช้จ่ายของผู้สูงอายุ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 3(6), 178-194.

Andrew, O., Anselm, K.A., & Theophilus, E.R. (2022). Additional income and consumption expenditure at retirement in Ajumako – Enyan – Essiam District (AEED) in the Central Region of Ghana, International Journal of Social Economics, 49(12),1739-1751.

Banks, J., Blundell, R., & Tanner, S. (1998). Is There a Retirement-Savings Puzzle? The American Economic Review, 88(4), 769–788.

Bashir, T. et al. (2013). Gender Differences in Saving Behabior aand its Determinants (Evidence from Punjab, Pakistan). Journal of Business and Management, 9(6), 74-86.

Battistin, E., Brugiavini, A., Rettore, E., & Weber, G. (2009). The Retirement Consumption Puzzle: Evidence from a Regression Discontinuity Approach. The American Economic Review, 99(5), 2209–2226.

Bugheanu, A. M., & Strachinaru, A. L. (2020). Financial Spending Behavior Patterns Based on Education, Gender and Age. Studies in Business and Economics, 15(2), 62-68.

Hamermesh, D. S. (1984). Consumption During Retirement: The Missing Link in the Life Cycle. The Review of Economics and Statistics,66(1), 1–7.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2006). Principles of Marketing (11th ed.). Prentice Hall.

Lee, J. S. & Hsieh, C. J. (2010). A research in relating entrepreneurship, marketing capability, innovative capability and sustained competitive advantage. Journal of Business & Economics Research, 8(9), 109-119.

Li, H.B., Shi, X. Z. & Wu, B. Z. (2015). Do Chinese Households Smooth Consumption around Retirement? China Economic Quarterly. 14(1).117-134.

Roscoe. (1969 pp.156-157), อ้างในกัญญ์สิริ จันทร์เจริญ (2556). การวิจัยทางการพยาบาล: แนวคิด หลักการและวิธีปฏิบัติ. พิมพลักษณ์.

Xu, G.X. & Zhao,X.D. (2021). A study on the influence of family aging population structure on Residents’ consumption difference. Northwest Population Journal, 2, 106-116.

Yang, Z .Y., & Gai, X .M. (2020). Aging, pension insurance and the savings rate of urban residents in China. Economic Economics, 37(4), 9.

Zou, H. & Yu, K.Z .(2015). Retirement and Urban Household Consumption:Based on Empirical Evidences of Regression Discontinuity Design. Economic Research Journal, 50.(1), 124-139.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30