ความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วิยะดา วรานนท์วนิช คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • วัลภา คงพัวะ คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ความสมดุล, คุณภาพชีวิตและการทำงาน, ผู้โดยสารคนไทยในกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาสาเหตุของความไม่สมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาแนวทางการสร้างความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร 4) เปรียบเทียบความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยการทำงาน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 420 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ในการอธิบายความของข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยการทำงาน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายความของข้อมูลเกี่ยวกับความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงาน และใช้สถิติเชิงอ้างอิง คือ t-test, F-test และทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (LSD test) สำหรับการเปรียบเทียบความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยการทำงาน

         ผลการวิจัย พบว่า

         ประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร มีสภาพความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง สาเหตุของความไม่สมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง แนวทางการสร้างความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง และการปรียบเทียบความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ ปัจจัยการทำงาน พบว่า ประชากรในเขตกรุงเทพมหานครที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส จำนวนผู้ที่อยู่ในอุปการะ เช่น คู่สมรส ลูก พ่อ แม่ เป็นต้น และแหล่งที่มาของรายได้ที่นำมาเลี้ยงดูครอบครัวแตกต่างกันมีความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุงานแตกต่างกันมีความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และประชากรในเขตกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อวัน จำนวนชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาการเดินทางระหว่างที่พักกับที่ทำงานแตกต่างกันมีความสมดุลของคุณภาพชีวิตและการทำงานต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

ฐานเศรษฐกิจ. (2566, 8 กุมภาพันธ์). ประเทศไทย ติดอันดับเมืองที่แรงงาน ทำงานหนักที่สุดในโลก. ฐานเศรษฐกิจ. https://www.thansettakij.com/health/wellbeing/555566.

ณฐกร โสภาวนัส และวอนชนก ไชยสุนทร. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กรที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสานักงานสถิติแห่งชาติ. วารสารการบริหารและจัดการ, คณะการบริหารและจัดการ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. 7(2), 1-19.

นฤมล เมียนเกิด. (2558). ความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงานของพนักงานออฟฟิตในเขตกรุงเทพมหานคร เปรียบเทียบกับพนักงาน บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟูดส์ จำกัด. [สารนิพนธ์ การจัดการมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. ธรรมสาร.

สราวลี แซงแสวง. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานและความสมดุลของชีวิต ในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการเจนเนอเรชั่น X และเจนเนอเรชั่น Y. [สารนิพนธ์ ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์..

สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กองเศรษฐกิจการรายงาน. (2566). รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลอุปสงค์และอุปทานแรงงานกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กระทรวงแรงงาน.

สุขุมพันธุ์ บริพัตร. (ม.ป.ป.) แผนการบริหาราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556-2560. http://surl.li/algoxh

อังคณา ธนานุภาพพันธุ์ และชุดาพร สอนภักดี. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความอยู่ดีมีสุขของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 9 (2), 184-200.

Alexander, Andrea et al,. (2021, April 1), What employees are saying about the future of remote work. McKinsey & Company. http://surl.li/fwljwh

Paulise, Luciana. (2021, 29 June). Some 52% Of Employees Prefer Hybrid Work Models: How To Overcome The Challenge. Forbes. http://surl.li/esltok

Yamane, Taro. (1973) Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30