เจตคติและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยวต่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร น้ำยาป้วนปาก แบรนด์ “งามลมัย” จังหวัดนครนายก
คำสำคัญ:
นวัตกรรมผลิตภัณฑ์, เจตคติและพฤติกรรม, สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร, น้ำยาบ้วนปากบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับเจตคติและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยวต่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร น้ำยาป้วนปาก แบรนด์ “งามลมัย” จังหวัดนครนายก 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเจตคติและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยวต่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร น้ำยาป้วนปาก แบรนด์ “งามลมัย” จังหวัดนครนายก จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยวต่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร น้ำยาป้วนปาก แบรนด์ “งามลมัย” จังหวัดนครนายก เก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยวที่ซื้อผลิตภัณฑ์น้ำยาป้วนปากแบรนด์ “งามลมัย” จังหวัดนครนายก จำนวน 297 คน ซึ่งได้มาโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกน ใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .914 และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย นักท่องเที่ยวชาวไทยจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และนักท่องเที่ยวชาวไทยจากจังหวัดต่าง ๆ ที่ซื้อผลิตภัณฑ์น้ำยาป้วนปากแบรนด์ “งามลมัย” จังหวัดนครนายก รวม 10 คน เลือกแบบเจาะจง ใช้วิธีการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในลักษณะของการพูดคุยและสอบถาม โดยใช้คำถามเชิงลึกเป็นลักษณะแบบปลายเปิดที่เตรียมไว้ของแต่ละประเด็นในการสัมภาษณ์และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบคำถามตามติด (Follow-up Question) ไปตามคำตอบของกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น และให้ได้ข้อมูลในด้านของพฤติกรรมในการซื้อผลิตภัณฑ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test (One-way ANOVA) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพเจตคติและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยวที่มีต่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร น้ำยาป้วนปาก แบรนด์ “งามลมัย” จังหวัดนครนายก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
- เปรียบเทียบเจตคติและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยวต่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ น้ำยาป้วนปาก แบรนด์ “งามลมัย” จังหวัดนครนายก จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้ต่อเดือน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
- ความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยวต่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ น้ำยาป้วนปาก แบรนด์ “งามลมัย” จังหวัดนครนายก ได้แก่ 1) การตัดสินใจซื้อเพราะมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างนวัตกรรม 2) ระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม และตราสัญลักษณ์ รูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์แสดงข้อแนะนำ ส่วนประกอบสำคัญ เป็นทางเลือกที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกซื้อจาก “คุณค่าที่ดีกว่า” 3) มีความพึงพอใจที่ผลิตภัณฑ์ของฝากที่ระลึก แบรนด์ “งามลมัย” ที่สามารถผูกสัมพันธ์ไปกับการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี และ 4) ข้อมูลบรรจุภัณฑ์ควรเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ หรือภาษาตามตลาดเป้าหมาย
References
กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP). สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2562, จาก www.cdd.go.th/
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2562). ประกาศราคากลาง กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ และออกแบบบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบของตลาดสากล มีฉลากเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาที่เหมาะสมกับตลาดตามข้อกำหนดของ FDA ของตลาดเป้าหมาย. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2562, จาก http://www.industry.go.th/
กัลยาณี ปฏิมาพรเทพ. (2548). การวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษาชุมชนไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
ชลธิชา คําประเทศ. (2556, กรกฎาคม - ธันวาคม). “พฤติกรรมและปัจจัยในการตัดสินใจใช้บริการสถานเสริมความงามของคนวัยทํางานในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 2(2): 22.
ชุติระ ระบอบ และคณะ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ไทยรัฐออนไลน์. (2562). เปิดฉากแล้ว ยิ่งใหญ่ "OTOP Midyear 2019" คาดเงินสะพัดกว่า 9 ร้อยล้าน. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2562, แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/news/business/entrepreneur/1593720
นงคราญ วงศ์สวาท. (2551). พฤติกรรมการเลือกซื้อความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อน้ำดื่มบรรจุขวดตราราชภัฏในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
นิรมล สุธรรมกิจ. (2559). สินค้าสีเขียว (GREEN PRODUCT) คืออะไร. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปุ่น คงเจริญเกียรติ และสมพร คงเจริญเกียรติ. (2541). บรรจุภัณฑ์อาหาร. กรุงเทพฯ: หยี่เฮง.
ผู้จัดการออนไลน์. (2560). เปรี้ยวแบบไม่ไร้ค่า! มะดันแปรรูป “งามลมัย” เตรียมผงาดตลาดโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2561, จาก https://m.mgronline.com/smes/detail/9600000125150
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช. (2562). การบริหารนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา: นวัตกรรมและการสร้างภูมิปัญญาไทยให้ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://kritaporn.wordpress.com/
รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธรและภาคภูมิ ภัควิภาส. (2558). รูปแบบทางการตลาดที่เหมาะสมกับแหล่งท่องเที่ยวถนนคนเดินเชียงใหม่. รายงานวิจัยคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่.
วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2554, 27 - 29 มกราคม). แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ กรณีศึกษาพื้นที่รอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554; “การพัฒนาอนาคตชนบทไทย: ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” หน้า 189 - 193.
สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง สาธารณสุข. (2547). คู่มือประชาชนในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
สมบัติ กาญจนกิจ และคณะ. (2560). โครงการการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทย เพื่อเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเอเชีย: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: กองทุนสนับสนุนการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สวนงามลมัย. (2562). ข้อมูลสารสนเทศสวนงามลมัย. 2562 ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2562. นครนายก: สวนงามลมัย.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานผลการพัฒนาประเทศในรอบ 5 ปี (พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2561). สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=8639&filename=indexArmstrong,
สำนักนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า. (2562ก). ดีไซน์-นวัตกรรม เติมสีสันธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.thinktradethinkditp.com
สำนักนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า. (2562ข). อิทธิพลของนวัตกรรมต่อผู้บริโภค: ผลการสำรวจออนไลน์ผู้บริโภค 1,000 คน ในสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับอิทธิพลของนวัตกรรมสินค้าที่มีต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2562 จาก, http://www.thinktradethinkditp.com
สุปราณี จงดีไพศาล. (2547). การพัฒนาธุรกิจกับการจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
สุรีย์ เข็มทอง และสุรภีร์ โรจนวงศ์. (2545). การจัดการธุรกิจสินค้าที่ระลึก. เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการธุรกิจแหล่งท่องเที่ยว. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสรี วงษ์มณฑา. (2562). คิดเหนือกระแส: ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2562, จาก https://www. thaipost.net/main/detail/27014
หมอชาวบ้าน. (2542). มะดัน: หนึ่งในความเปรี้ยวที่ครองใจชาวกลองยาว. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/2668.
Aaker, D. A. (1991). Managing Brand Equity: Capitalizing on the Value of a Brand Name. NY: The Free Press.
Cronbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: McGraw-Hill.
Kotler, Philip., & Armstrong, Gary. (2014). Principles of Marketing: Global Edition. 15th ed., Harlow, England: Pearson Education, Limited.
Krejcie, R. V.; & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.
Schumpeter, J. (1934). The Theory of Economic Development. (reproduced 1961). Cambridge: Harvard University Press.
Shimaguchi. (1985). Package Design in Japan Volume 1. n.p.
Solomon, M. R. (1990). Consumer Behavior: Buying Having Being. 4th ed., Upper saddle River, NJ: Prentice - Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.