เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ).
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

              วารสารรัฐศาสตร์พิจารเป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการ จากคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยและนักศึกษาทั่วไปทั้งภายในและภายนอกประเทศได้มีโอกาสเสนอผลงานวิชาการเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิทยาการโดยเฉพาะองค์ความรู้ใหม่ในสาขารัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐประศาสนศาสตร์ สหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บริหารธุรกิจ การเมืองการปกครอง และเอเชียศึกษาในกรอบอาณาบริเวณศึกษา (Area Study)

              ผลงานวิชาการที่รับตีพิมพ์อาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้ บทความวิชาการ บทความวิจัย บทความปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือ เป็นต้น ต้นฉบับ (Manuscript) ที่ส่งพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์) และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น ต้องไม่เป็นผลงานทางวิชาการที่ลอกเลียน ตัดทอนจากผลงานวิจัยของผู้อื่น ไม่มีการคัดลอกหรือชักนำให้เข้าใจผิดในผลงานหรือผลการศึกษา เรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer-reviewed) และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ

1. ประเภทของบทความที่รับพิจารณา

             1. บทความวิชาการ
             2. บทความวิจัย
             3. บทความปริทัศน์และบทวิจารณ์หนังสือ
             4. บทความพิเศษ

2. รูปแบบการเขียนบทความ

              2.1 ชื่อเรื่อง ให้พิมพ์ชื่อเรื่องบทความไว้กลางหน้ากระดาษ ทั้งชื่อเรื่องภาษาไทยและชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ พร้อมใส่เครื่องหมาย * และระบุ footnote ว่าบทความนี้เขียนขึ้นมาจากวัตถุประสงค์ใด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

              2.2 ชื่อผู้เขียน ใส่ชื่อผู้เขียนบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยไม่ต้องระบุคำนำหน้าชื่อ ไว้ด้านขวาสุด พร้อมใส่เครื่องหมาย ** เพื่อระบุใน footnote ว่าผู้เขียนเป็นใคร    ตำแหน่งวิชาการ (ถ้ามี) ของผู้เขียนทุกคน อยู่สถานที่ใด (ในกรณีที่มีชื่อผู้เขียนหลายคน กรุณาระบุให้ครบทุกคน)

              2.3 บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  (ไม่เกิน 250 คำ)

              2.4 คำสำคัญ (Keyword) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ไม่เกิน 5 คำ

              2.5 บทนำ

              2.6 เนื้อหา

              2.7 บทสรุป

              2.8 เอกสารอ้างอิง

              2.9 ประวัติการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการและสังกัด

3. การเตรียมต้นฉบับ
              1. ให้ระบุชื่อผู้เขียน ยศหรือตำแหน่ง ที่อยู่หรือที่ทำงานที่สามารถติดต่อได้ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ อีเมลและโทรสารที่สามารถติดต่อได้
              2. ส่งต้นฉบับจำนวน 1 ชุด
              3. พิมพ์โดยโปรแกรม Microsoft Word for Windows
              4. ใช้อักษรแบบ TH SarabunNew ขนาด 16 โดยใช้กระดาษ A4 พิมพ์หน้าเดียวเท่านั้น
              5. ระยะห่างระหว่างบรรทัดให้ใช้ single space ความยาวของบทความไม่น้อยกว่า 15 หน้าแต่ไม่เกิน 20 หน้า รวมเอกสารอ้างอิง
              6. ใช้ระบบอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association)
              7. การตั้งค่าหน้ากระดาษ
                  - ระยะขอบบน (Top margin) 1” หรือ 2.54 เซนติเมตร
                  - ระยะขอบล่าง (Bottom margin) 1” หรือ 2.54 เซนติเมตร
                  - ระยะขอบซ้าย (Left margin) 1.5” หรือ 3.18 เซนติเมตร
                  - ระยะขอบขวา (Right margin) 1” หรือ 2.54 เซนติเมตร

4. การส่งต้นฉบับ

 การส่งต้นฉบับสามารถทำได้หลายช่องทาง
                  1. ส่งต้นฉบับ 1 ชุด ไปยังกองบรรณาธิการวารสาร ศูนย์การเมือง สังคมและอาณาบริเวณศึกษา คณะรัฐศาสตร์ อาคารศรีศรัทธา ชั้น 3 ห้อง 314                                มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทรศัพท์ 02-310-8497 , 096-259-0036
                  2. ส่งทางอีเมลมายัง 
                      ps.critique@gmail.com
                      โดยเขียนหัวข้ออีเมลว่า ส่งบทความ เรื่อง.......................
                  3. ส่งทางออนไลน์ โดยเข้าไปสมัครและส่งต้นฉบับได้ด้วยตนแองที่
                       so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC

5. การอ้างอิงและการเขียนเอกสารอ้างอิง

กรณีที่ผู้เขียนต้องการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อเรื่อง

             1) ให้ใช้วิธีการอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่องแบบนามปี (author-date in text citation) โดยระบุ ชื่อผู้แต่ง และปีพิมพ์ของเอกสารไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความที่ต้องการอ้าง เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น และอาจระบุเลขหน้าของเอกสารที่อ้างด้วยก็ได้หากต้องการ

        

             (ชื่อผู้แต่ง, ปีพิมพ์, เลขหน้า ) ไว้ท้ายข้อความที่อ้างอิง

             (สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, 2549, น. 200-205)

             (McCartney & Phillips, 2006, p. 498-499)

 

             2) ให้มีการอ้างอิงส่วนท้ายเล่ม (reference citation) โดยการรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนได้ใช้อ้างอิงในการเขียนผลงานนั้น ๆ จัดเรียงรายการตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ภายใต้หัวข้อ เอกสารอ้างอิง สำหรับผลงานวิชาการภาษาไทย หรือ Reference สำหรับผลงานวิชาการภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) กรณีรายการเอกสารอ้างอิงภาษาไทย ให้แปลรายการอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษต่อท้ายรายการอ้างอิงภาษาไทยเดิม ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงมีดังนี้

             1. หนังสือ

             ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์/ผู้จัดพิมพ์.

             พรพิมล ตรีโชติ. (2542). ชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

             Huntington, S. (2003). The Clash of Civilization and the Remaking of World Order. New York: Simon & Schuster

                          Paperbacks.

            

              2. วารสาร

             ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). “ชื่อบทความ.” ชื่อวารสาร ปีที่,ฉบับที่ (เดือน): หน้าแรก-หน้าสุดท้าย

             สมบัติ จันทรวงศ์. (2557). “คณาธิปไตยหรือประชาธิปไตยในอาเซียน: มุมมองของ Alexis de Tocqueville.” วารสาร

                          เอเชียพิจาร ฉบับปฐมฤกษ์ 15,5: 23-63.

             Chanrochanakit, P.(2011).“Deforming thai Politics As Read through Thai Contemporary Art.” Third Text 25,

                          4: 419-429.

 

             3. นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์

             ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์เผยแพร่). “ชื่อบทความ.” ชื่อนิตยสาร/หนังสือพิมพ์ (วันที่ เดือนที่) : หน้า.

             มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง. (2554). “จะเอายังไงกับภาคใต้?” มติชน (3 มิถุนายน) : 15.

 

             4. บทความจากเว็บไซต์

             ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อเรื่อง. ค้นเมื่อ วัน เดือน ปี ที่สืบค้น จากชื่อเว็บไซต์.

             สมชาย ภคภาสวิวัฒน์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่าง AEC และประชาคมสังคมและ  วัฒนธรรมอาเซียน. ค้นเมื่อ

                          22 กรกฎาคม 2557 จาก http://www.mfa.go.th

 

5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต

             ผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ชื่อมหาวิทยาลัย, ชื่อคณะ, ชื่อสาขา

                          วิชาหรือภาควิชา.

             Boroughs, B.B.S. (2010). Social networking websites and voter turnout. (Master’s thesis). Georgetown

                          University, Faculty of the Graduate School of Arts and Sciences.

             ธีระพันธ์ ชนาพรรณ. (2548). การจัดการการสื่อสารของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชนที่มีผลต่อการ

                          ตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย

                          ธรรมศาสตร์,คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาการสื่อสารภาครัฐและเอกชน.

 

 

*** หมายเหตุ ต้นฉบับบทความที่นำส่งจะต้องถูกต้องตามหลักเกณฑ์และคำแนะนำการเขียนที่กำหนดเท่านั้น จึงจะได้รับพิจารณาดำเนินการประเมินบทความก่อนตีพิมพ์สามารถดูรายละเอียดการจัดเตรียมต้นฉบับได้ที่ so01.tci-thaijo.org/index.php/PSC