บทความย้อนหลัง

  • กรกฎาคม - ธันวาคม
    ปีที่ 11 ฉบับที่ 22 (2024)

    ในวารสารฉบับปลายปี พ.ศ.2567 เป็นวารสารที่มีเนื้อหาครอบคลุมในมิติต่าง ๆ ของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ ในสาขาของการเมืองการปกครอง การบริหารรัฐกิจที่สังคมกำลังให้ความสนใจ จึงน่าจะเป็นประโยชน์กับนักศึกษาที่ให้ความสนใจ หรืออยู่ระหว่างการศึกษาและทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิชารัฐศาสตร์ได้

    สำหรับเนื้อหาในวารสารฉบับนี้มีวิธีการนำเสนอ และจัดกลุ่มตามประเด็นที่เกี่ยวเนื่อง ออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับแนวความคิดทางการเมือง ในส่วนที่สองจะเป็นประเด็นที่เน้นเรื่องการบริหารจัดการหน่วยงานของรัฐ และ เนื้อหาในส่วนสุดท้ายจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

     

    ศกลรัตน์ จิรรุ่งเรืองวงศ์

  • การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
    ปีที่ 11 ฉบับที่ พิเศษ (2024)

    เนื่องด้วยเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2024 นี้มีเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลต่อแวดวงรัฐศาสตร์อย่างมหาศาลคือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาที่เป็นประเทศอภิมหาอำนาจและเป็นแบบอย่างของประชาธิปไตยทั่วโลก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่การเลือกตั้งในครั้งนี้นับเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งแรกภายหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2021 ที่ส่งผลลบต่อภาพลักษณ์ของสหรัฐฯ ในฐานะประเทศผู้นำประชาธิปไตยของโลก ด้วยเหตุนี้ การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 2024 จึงเป็นเหตุการณ์ที่มีควรจับตามองอย่างใกล้ชิด กองบรรณาธิการวารสารจึงได้ประสานงานกับ ผศ.ดร.ปราณี ทิพย์รัตน์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร. เอกลักษณ์ ไชยภูมี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ อ.ดร.กิตติพศ พุทธิวนิช คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อให้ความกรุณาเขียนบทความภายใต้หัวข้อใหญ่ว่า “การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการเมืองอเมริกัน” สำหรับการให้ความรู้และความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการเมืองอเมริกัน ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และจะเป็นประโยชน์สำหรับการติดตามหรือการวิพากษ์วิจารณ์การเมืองอเมริกันต่อไป กองบรรณาธิการจึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ นอกจากนี้กองบรรณาธิการขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความทุกท่านที่ให้เกียรติมาพิจารณาบทความทั้งสามในวารสารรัฐศาสตร์พิจารฉบับพิเศษนี้ด้วย

     

     

    ศกลรัตน์ จิรรุ่งเรืองวงศ์

  • มกราคม - มิถุนายน
    ปีที่ 11 ฉบับที่ 21 (2024)

    ในวารสารฉบับต้นปี พ.ศ.2567 เป็นวารสารที่มีเนื้อหาครอบคลุมในมิติต่าง ๆ ของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ ในสาขาของการเมืองการปกครอง การบริหารรัฐกิจที่สังคมกำลังให้ความสนใจ จึงน่าจะเป็นประโยชน์กับนักศึกษาที่ให้ความสนใจ หรืออยู่ระหว่างการศึกษาและทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิชารัฐศาสตร์ได้

    สำหรับเนื้อหาในวารสารฉบับนี้มีวิธีการนำเสนอ และจัดกลุ่มตามประเด็นที่เกี่ยวเนื่อง ออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับแนวความคิดทางการเมืองของนักปรัชญาและนักวิชาการทั้งในอดีตและปัจจุบัน ในส่วนที่สองจะเป็นประเด็นที่เน้นเรื่องการบริหารจัดการหน่วยงานของรัฐทั้งในภาพรวม ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น เนื้อหาในส่วนสุดท้ายจะเป็นประเด็นคัดสรรเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาปริญญาเอกทางรัฐศาสตร์

     

    กิตติพศ  พุทธิวนิช

  • กรกฎาคม – ธันวาคม
    ปีที่ 10 ฉบับที่ 20 (2023)

    ในวารสารฉบับปลายปี พ.ศ.2566 เป็นวารสารที่มีเนื้อหาครอบคลุมในมิติต่าง ๆ ของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ ในสาขาของการเมืองการปกครอง การบริหารรัฐกิจที่สังคมกำลังให้ความสนใจ จึงน่าจะเป็นประโยชน์กับนักศึกษาที่ให้ความสนใจ หรืออยู่ระหว่างการศึกษาและทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิชารัฐศาสตร์ได้

                สำหรับเนื้อหาในวารสารฉบับนี้มีวิธีการนำเสนอ และจัดกลุ่มตามประเด็นที่เกี่ยวเนื่องออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับการเมืองไทยและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ในส่วนที่สองจะเป็นประเด็นที่เน้นเรื่องการบริหารรัฐกิจที่มีบทบาทในการนำนโยบายไปปฏิบัติให้เกิดผลต่อสังคม  และเนื้อหาในส่วนสุดท้ายเป็นประเด็นเกี่ยวกับความคิดทางการเมือง

  • มกราคม - มิถุนายน
    ปีที่ 10 ฉบับที่ 19 (2023)

                   วารสารรัฐศาสตร์พิจารได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างยิ่งจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานวารสารวิชาการ รวมไปถึงการช่วยผลักดันให้วารสารยังคงได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อไป ในนามของกองบรรณาธิการวารสารรัฐศาสตร์พิจารจึงขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

                   ความน่าสนใจเกี่ยวกับบทความต่าง ๆ ในวารสารฉบับนี้ คือ ‘การประยุกต์ทฤษฎี’ โดยมีตั้งแต่การประยุกต์ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการอธิบายปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับธรรมาภิบาลในการปฏิรูประบบราชการ การประยุกต์ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในการศึกษาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม การประยุกต์แนวคิดทางด้านปรัชญาการเมืองอย่าง “ความเป็นพลเมือง” กับปัญหาการอพยพในสหภาพยุโรป การประยุกต์กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการวางนโยบายของพรรคการเมืองในช่วงการเลือกตั้งของไทย การประยุกต์การศึกษาแบบวงศาวิทยา (genealogy) กับแนวคิดทางปรัชญาการเมือง และการประยุกต์ข้อถกเถียงที่ว่าด้วยโครงสร้าง-ตัวแสดงในทางปรัชญาสังคมศาสตร์ นอกจากนั้น ในวารสารฉบับนี้ยังมีบทวิจารณ์หนังสือเรื่อง Citizenship ของ Paul Berry Clarke อีกด้วย

     

                                                                                         กิตติพศ พุทธิวนิช 

  • กรกฎาคม – ธันวาคม
    ปีที่ 9 ฉบับที่ 18 (2022)

                ในวารสารฉบับปลายปี พ.ศ.2565 เป็นวารสารที่มีเนื้อหาครอบคลุมในมิติต่าง ๆ ของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ ในสาขาของการเมืองการปกครอง การบริหารรัฐกิจที่สังคมกำลังให้ความสนใจ จึงน่าจะเป็นประโยชน์กับนักศึกษาที่ให้ความสนใจ หรืออยู่ระหว่างการศึกษาและทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิชารัฐศาสตร์ได้

                สำหรับเนื้อหาในวารสารฉบับนี้มีวิธีการนำเสนอ และจัดกลุ่มตามประเด็นที่เกี่ยวเนื่อง ออกเป็น 4 ส่วน ส่วนแรกจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับแนวความคิดทางการเมือง เพื่ออธิบายบริบททางการเมืองในปัจจุบัน ในส่วนที่สองจะเป็นประเด็นที่เน้นเรื่องการบริหารจัดการหน่วยงานของรัฐที่ส่งผลต่อสังคม เนื้อหาครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีและหน่วยงานกาชาด เนื้อหาในส่วนที่ 3 จะเป็นประเด็นคัดสรรทางรัฐศาสตร์ในเรื่องประวัติศาสตร์ทางการเมือง และบทปริทัศน์หนังสือเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองร่วมสมัยในส่วนสุดท้าย

  • มกราคม - มิถุนายน
    ปีที่ 9 ฉบับที่ 17 (2022)

    ในวารสารฉบับต้นปี พ.ศ.2565 เป็นวารสารที่มีเนื้อหาครอบคลุมในมิติต่าง ๆของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ ในสาขาของการเมืองการปกครอง การบริหารรัฐกิจ และยังมีการคัดสรรประเด็นทางการเมืองร่วมสมัยที่สังคมกำลังให้ความสนใจ จึงน่าจะเป็นประโยชน์กับนักศึกษาที่ให้ความสนใจ หรืออยู่ระหว่างการศึกษาและทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิชารัฐศาสตร์ได้

                สำหรับเนื้อหาในวารสารฉบับนี้มีวิธีการนำเสนอ และจัดกลุ่มตามประเด็นที่เกี่ยวเนื่อง ออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์แนวความคิดทางการเมืองจากปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวทางการเมือง และ วรรณกรรมที่ได้รับความนิยม เพื่ออธิบายบริบททางการเมืองในปัจจุบัน ในส่วนที่สองจะเป็นประเด็นที่เน้นเรื่องการเมืองระดับชุมชน ซึ่งมีความสำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับกรณีศึกษาบทบาทของผู้ใหญ่บ้าน รูปแบบการสร้างชุมชนเข้มแข็ง และ การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับตำบล เนื้อหาในส่วนสุดท้ายจะเป็นประเด็นคัดสรรทางรัฐศาสตร์ในเรื่องแนวทางการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งเกี่ยวข้องสังคมผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย

  • กรกฎาคม - ธันวาคม
    ปีที่ 8 ฉบับที่ 16 (2021)

    ในวารสารฉบับปลายปี พ.ศ.2564 เป็นวารสารที่มีเนื้อหาครอบคลุมในมิติ ต่าง ๆ ของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นในสาขาของการเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การบริหารรัฐกิจ โดยมีการคัดสรรประเด็นทางการเมืองร่วมสมัยที่สังคมกำลังให้ความสนใจ โดยบทความทุกชิ้นได้ผ่านกระบวนใช้การกลั่นกรองบทความก่อนลงตีพิมพ์แบบผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blind Peer Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 2 ท่าน จึงน่าจะเป็นประโยชน์กับนักศึกษาที่ให้ความสนใจ หรืออยู่ระหว่างการศึกษาและทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิชารัฐศาสตร์ได้ 

    สำหรับเนื้อหาในวารสารฉบับนี้มีวิธีการนำเสนอ และจัดกลุ่มตามประเด็นที่เกี่ยวเนื่อง ออกเป็น 3  ส่วน ส่วนแรกจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในส่วนที่สองจะเป็นประเด็นที่เน้นเรื่องการจัดการภาครัฐ ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยจะกล่าวถึงประเด็นการพัฒนาระบบความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารจัดการขยะมูลฝอย เนื้อหาในส่วนสุดท้ายจะเป็นประเด็นคัดสรรทางรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับการดำรงอัตลักษณ์ในสังคมพหุวัฒนธรรม ซึ่งจะกล่าวถึงปฏิสัมพันธ์และการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความแตกต่าง

  • มกราคม - มิถุนายน
    ปีที่ 8 ฉบับที่ 15 (2021)

    ในวารสารฉบับต้นปี พ.ศ.2564 เป็นวารสารที่มีเนื้อหาครอบคลุมในมิติต่าง ๆของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นในสาขาของการเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การบริหารรัฐกิจ และยังมีการคัดสรรประเด็นทางการเมืองร่วมสมัยที่สังคมกำลังให้ความสนใจ โดยบทความทุกชิ้นได้ผ่านกระบวนใช้การกลั่นกรองบทความก่อนลงตีพิมพ์แบบผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blind Peer Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 2 ท่าน จึงน่าจะเป็นประโยชน์กับนักศึกษาที่ให้ความสนใจ หรืออยู่ระหว่างการศึกษาและทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิชารัฐศาสตร์ได้ 

    สำหรับเนื้อหาในวารสารฉบับนี้มีวิธีการนำเสนอ และจัดกลุ่มตามประเด็นที่เกี่ยวเนื่อง ออกเป็น 4 ส่วน ส่วนแรกจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับการอธิบายปรากฏการณ์ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับการให้ความหมายกับคำว่าผลประโยชน์แห่งชาติ ในส่วนที่สองจะเป็นประเด็นที่เน้นเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน เพื่ออธิบายความซับซ้อนของบริบททางการเมืองในปัจจุบัน โดยจะกล่าวถึงประเด็นการเมืองระดับนคร  การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สำหรับส่วนที่สามประเด็นเรื่องการเมืองระดับชุมชน ซึ่งมีความสำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยเนื้อหาส่วนนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบูรณาการความร่วมมือในระดับชุมชม เนื้อหาในส่วนสุดท้ายจะเป็นประเด็นคัดสรรทางรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ในการสร้างระบอบอาหาร ซึ่งเป็นประเด็นร่วมสมัยที่ครอบคลุมถึงการต่อสู้ทางอำนาจของรัฐและเอกชนในระดับระหว่างรัฐ

  • กรกฎาคม - ธันวาคม
    ปีที่ 7 ฉบับที่ 14 (2020)

    ในวารสารฉบับปลายปี พ.ศ.2563 เป็นวารสารที่มีเนื้อหาครอบคลุมในมิติต่าง ๆ ของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การบริหารรัฐกิจ และยังมีการคัดสรรประเด็นทางการเมืองร่วมสมัยที่สังคมกำลังให้ความสนใจ จึงน่าจะเป็นประโยชน์กับนักศึกษาที่ให้ความสนใจ หรืออยู่ระหว่างการศึกษาและทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชารัฐศาสตร์ได้ 

    สำหรับเนื้อหาในวารสารฉบับนี้มีวิธีการนำเสนอ และจัดกลุ่มตามประเด็นที่เกี่ยวเนื่อง ออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ดีในมิตินโยบายสาธารณะ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับ การจัดการองค์การในภาวะวิกฤติฉุกเฉิน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และ การพัฒนาศักยภาพผู้นำของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ในส่วนที่สองจะเป็นประเด็นที่เน้นเรื่องปฏิสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน เพื่ออธิบายความซับซ้อนของบริบททางการเมืองในปัจจุบัน โดยจะกล่าวถึงประเด็นรูปแบบการปกครองและผลลัพธ์ทางการเมือง และ กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน  เนื้อหาในส่วนสุดท้ายจะเป็นประเด็นคัดสรรทางรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับการตีความภาพยนตร์ในมุมมองประวัติศาสตร์การเมือง

  • มกราคม - มิถุนายน
    ปีที่ 7 ฉบับที่ 13 (2020)

    ในวารสารฉบับต้นปี พ.ศ.2563 เป็นวารสารที่มีความหลากหลายในแง่ของเนื้อหา แต่อย่างไรก็ดีในความหลายหลาย ก็ทำให้เราได้วารสารที่มีเนื้อหาที่ครอบคลุมทั้งในด้านการบริหารรัฐกิจ และประเด็นคัดสรรเฉพาะทางนโยบาย ถือเป็นวารสารอีกหนึ่งฉบับที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาที่กำลังสนใจ หรือกำลังอยู่ระหว่างการทำงานวิจัย กล่าวคือบทความที่ได้รวบรวมในวารสารเล่มนี้สามารถนำไปเป็นตัวอย่างหรือแนวทางในการที่จะศึกษาในด้านรัฐศาสตร์ในมิติต่างๆ

    สำหรับเนื้อหาในวารสารฉบับนี้มีวิธีการนำเสนอ และจัดกลุ่มตามประเด็นที่เกี่ยวเนื่อง ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก จะเป็นประเด็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการของหน่วยงานทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยมีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างองค์กรในการจัดการปัญหาชายแดน นอกจากนี้ยังมีประเด็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาองค์กรเพื่อเข้าสู่อาเซียน ในส่วนที่สอง จะเป็นประเด็นที่เน้นเกี่ยวกับนโยบาย โดยเนื้อหาในส่วนนี้ เป็นการศึกษาออกนโยบายเพื่อจัดการประมงผิดกฎหมายกระเป๋าแบรนด์เนม รวมไปถึง การคุ้มครองแรงงาน

  • กรกฎาคม - ธันวาคม
    ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 (2019)

    วารสารวิชาการฉบับนี้ถือเป็นวารสารฉบับปีที่ 6 ฉบับที่ 12 (ก.ค ธ.ค. 2562) โดยเป็นฉบับแรกที่ได้เปลี่ยนชื่อจาก วารสารเอเชียพิจาร มาเป็น วารสารรัฐศาสตร์พิจาร  โดยมีบทความทั้งสิ้น 6 บทความ โดยมี บทความที่เน้นประเด็นเรื่องบทบาทรัฐในการพัฒนาประเทศในรูปของนโยบายรัฐที่ส่งผลต่อพัฒนาการของประเทศไทยทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นเพราะนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันรัฐมีบทบาทในการสร้างกลไกที่สาคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคมมากกว่ากลไกที่สร้างขึ้นจากบทบาทภาคประชาชนดั่งเช่นในสังคมหรือประเทศที่มีประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ในประเทศกลุ่มด้อยพัฒนาหรือกลุ่มที่กาลังพัฒนาส่วนใหญ่ภาครัฐแสดงบทบาทที่เข้มแข็งในการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงสังคม ประเทศไทย แม้ไม่ได้เป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่มด้อยพัฒนา แต่แนวทางการพัฒนาประเทศอาจยังคงบทบาทที่ภาครัฐมีบทบาทเหนือสังคมอยู่ต่อไป กระนั้นก็ดีประเทศที่ผ่านการบริหารงานภายใต้รัฐบาลพลเรือนและที่มาจาก การเลือกตั้งก็มีความพยายามจะส่งเสริมให้บทบาทภาคประชาชนเข้มแข็งและสอดคล้องกับรูปแบบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น