การบูรณาการความร่วมมือทำวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร หนองกาพัฒนาสามัคคี ต.ปราณบุรี อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

บุญฤทธิ์ เพชรแท้

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้เป็นการเรียงข้อมูลที่ได้จากการทำวิจัยเรื่องการบูรณาการความร่วมมือทำวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองกาพัฒนาสามัคคี ต.ปราณบุรี อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทั้งนี้ เพื่อที่ต้องการทราบถึงการดำเนินงานแบบ
บูรณาการความร่วมมือทำวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองกาพัฒนาสามัคคี และเพื่อที่จะศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานการบูรณาการความร่วมมือทำวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองกาพัฒนาสามัคคี โดยผู้วิจัยได้พยายามรวบรวมข้อมูลทั้งส่วนที่เป็นเอกสาร และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ภาครัฐได้ทำการส่งเสริมการประกอบกิจการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองกาพัฒนาสามัคคี เป็นการพัฒนาจากการสร้างฐานรากในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มุ่งพัฒนาปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับสภาพชุมชน โดยอาศัยภูมิปัญญาและทรัพยากรที่มีอยู่เป็นสำคัญ รัฐบาลจะเน้นให้วิสาหกิจชุมชนทำธุรกิจแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในชุมชน สร้างเครือข่ายในชุมชน รวมถึงการสร้างเครือข่ายกับวิสาหกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน เพื่อการพัฒนาและการส่งเสริมภายนอก เพื่อสร้างความร่วมมือ ซึ่งในส่วนของชุมชนเองก็ได้ให้การตอบรับต่อนโยบายของทางภาครัฐได้เป็นอย่างดี มีการพัฒนาบุคลากร พัฒนาองค์กร การนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยในด้านการผลิต การบรรจุภัณฑ์ ได้รับการผ่านมาตรฐาน อย. ทำให้สินค้ามีความน่าเชื่อถือ สะอาด ปลอดภัย และมีการวางแผนการดำเนินงานด้วยการแบ่งงานกันทำตามความถนัด แบ่งหน้าที่รับผิดชอบออกเป็นส่วนๆ มีฝ่ายการจัดหาวัตถุดิบ ฝ่ายผลิต ฝ่ายบรรจุภัณฑ์ ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการตลาด และฝ่ายบริหาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกสินทร์ ชำนาญพล. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายการตลาดวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาพัฒนศึกษา.

คันธรส อยู่คง. (2555). ความร่วมมือของผู้นำชุมชนในการพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในตำบลน้ำแพร่ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะรัฐศาสตร์.

จุฑามาส ชโลธร. (2554). การเพิ่มประสิทธิภาพของวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่น ในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี: กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านคลองมือไทร. (งานนิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์.

ดวงทิพย์ วิบูลศักดิ์ชัย. (2555). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาการอุดมศึกษา.

พรรณพิลาศ เกิดวิชัย. (2559). การพัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมเชิงสร้างสรรค์ออนไลน์ตามแนวคิด หุ้นส่วนภาคเอกชนที่เสริมสร้างพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมของครูปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะคุรุศาสตร์.

พิสิฐ เทพไกรวัล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการการศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

เพียงใจ น้อยดี. (2553). การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.

วรชัย วิภูอุปรโคตร. (2559). การนำเสนอรูปแบบและกลยุทธ์การบริหารจัดการเครือข่าย มหาวิทยาลัยระดับภูมิภาค. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะคุรุศาสตร์.

วรรณพงศ์ ช่วยรักษา. (2560). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มสตรีทอผ้าฝ้ายย้อมคราม บ้านถ้ำเต่า จังหวัดสกลนคร. (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะการจัดการและท่องเที่ยว.

วรัชยา ศิริวัฒน์. (2561). แนวความคิดเชิงทฤษฎีในการบริหารรัฐกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิพร เกตุแก้ว. (2558). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมจินตนา จิรายุกุล, วินัยธร วิชัยดิษฐ์ และ วรรณภา โพธิ์ผลิ. (2560). รายงานการวิจัยการพัฒนาการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน เขตธนบุรีเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนอย่าง ยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

อภิชาต มหาราชเสนา. (2553). กระบวนการจัดการกลุ่มสู่การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษาบ้านธูปสมุนไพร ตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, สาขาสังคมวิทยา.