การดำรงอัตลักษณ์มุสลิมในสังคมพหุวัฒนธรรมอีสาน

Main Article Content

หัษยา ปาทาน

บทคัดย่อ

การดำรงอัตลักษณ์มุสลิมในสังคมพหุวัฒนธรรมอีสานเป็นการศึกษาเรื่องวิธีการดำรงอัตลักษณ์มุสลิมในระดับปัจเจกบุคคลและองค์กรมุสลิมท่ามกลางความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมอีสานคือมุสลิมอีสานเป็นประชากรส่วนน้อยในพื้นที่อาศัยอยู่ร่วมกับกลุ่มวัฒนธรรมที่หลากหลายอย่างลงตัวด้วยความถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกันทั้ง พุทธ คริสต์ จีน อิสลาม พบได้จากภายในพื้นที่เดียวกัน มีทั้งวัด โบสถ์ โรงเรียนคริสต์ สมาคมหอสมุดวัฒนธรรมจีน และมัสยิด อัตลักษณ์ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 3 อัตลักษณ์คือ อัตลักษณ์ละหมาด อัตลักษณ์ซะกาต และ อัตลักษณ์    การส่งเสริมความดียับยั้งความชั่ว ผู้วิจัยยังได้ศึกษาแนวทางการปฏิสัมพันธ์ที่มีส่วนทำให้อัตลักษณ์มุสลิมดำรงอยู่ได้ในสังคมพหุวัฒนธรรมอีสาน โดยมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกแบบมีโครงสร้าง ประกอบกับการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย วิทยานิพนธ์ วารสาร หนังสือ บทความ เอกสารหมู่บ้าน และเอกสารทางราชการที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความโดยใช้แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาอธิบายปรากฏการณ์ที่ศึกษาจนได้ข้อสรุป ผ่านกรอบแนวคิดเรื่องสังคมพหุวัฒนธรรม การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม อัตลักษณ์มุสลิม บทบาทองค์กรและแนวคิดวะสะฏียะฮ์ (ทางสายกลางในอิสลาม)


ผลการศึกษาพบว่าการดำรงอัตลักษณ์มุสลิมในสังคมพหุวัฒนธรรมอีสานนั้นขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยคือ ปัจเจกบุคคล องค์กร และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ในระดับปัจเจกบุคคลนั้นเกี่ยวข้องกับการมีความรู้ด้านศาสนาและการปฏิบัติของประชาชน ด้านองค์กรเกิดจากวิสัยทัศน์ ภารกิจหลัก และโครงการที่องค์กรมีส่วนส่งเสริมให้ อัตลักษณ์มุสลิมสามารถดำรงอยู่ได้ในสังคมพหุวัฒนธรรมอีสาน สำหรับด้านปฏิสัมพันธ์นั้นพบว่ามี 2 ด้านด้วยกันคือ ปฏิสัมพันธ์ด้านศาสนาและปฏิสัมพันธ์ด้านสังคมเศรษฐกิจ ที่เกิดจากการติดต่อสื่อสารทางวัฒนธรรมระหว่างประชาชนของทั้ง 3 ศาสนาที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอีสาน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิพนธ์ โซะเฮง. (2554). “การรักษาอัตลักษณ์ของมุสลิมในบริบทการพัฒนาของไทย.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 8: 141-143.

แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย. (2557). สำมะโนประชากรมุสลิม พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล วงษ์อารี. (2552). บทบาทของคณะกรรมการมัสยิดต่อการพัฒนาชุมชนมุสลิม ศึกษากรณีมัสยิดในเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สาขาการบริหารการพัฒนาสังคม.

มนูญ โต๊ะอาจ. (2555). การเรียนรู้และการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นมุสลิมของมุอัลลัฟในเขตชุนชนเมืองและชุมชนชนบทของไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขานิเทศศาสตร์.

วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ. (2553). กระบวนการดำรงอัตลักษณ์มุสลิมกับการสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง : กรณีศึกษาชุมชนมัสยิดบ้านเหนือ ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวัฒนธรรมศึกษา.

สุไรยา วานิ. (2557). “การอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี.” วารสารการเมืองการปกครอง 4,1: 204–216.

ศิริจิต สุนันต๊ะ. (2556). “สถานการณ์โต้แย้งเรื่องพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย.” ภาษาและวัฒนธรรม 32,1: 7-18.

อัมพร ธำรงลักษณ์. (2551). องค์การ : ทฤษฎี โครงสร้าง และการออกแบบ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อารี จำปากลาย, ธีรนงค์ สกุลศรี และอาซิส ประสิทธิหิมะ. (2555). มุสลิมในประเทศไทย : ชายขอบหรือเพียงแค่แตกต่าง?. ใน มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, การประชุมวิชาการประชากรและสังคม ครั้งที่ 8 (87-104). นครปฐม: ผู้แต่ง.