ความคาดหวังของประชาชนที่แสดงออกทางการเมืองในการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ของ “ม็อบคณะราษฎร 2563-2564”

Main Article Content

ธนวุฒิ ศรีสวัสดิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์การศึกษา 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังของประชาชนที่แสดงออกทางการเมืองในการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ของม็อบคณะราษฎร 2563-2564 2) เพื่อจำแนกกลุ่มคนตามความคาดหวังและอื่น ๆ ที่น่าสนใจในการเคลื่อนไหวทางสังคมของม็อบคณะราษฎร 2563-2564 ด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือคนทั่วไปบนอินเทอร์เน็ตไม่จำกัดเพศ อายุ อาชีพ ที่แสดงออกทางการเมืองด้วยการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของม็อบคณะราษฎร จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามในพื้นที่ออนไลน์  ผลการศึกษา พบว่า 1) ข้อเรียกร้องที่คาดหวังมากที่สุด ได้แก่ การให้นายกรัฐมนตรีลาออก การปฏิรูปการศึกษา และ การสร้างความเป็นธรรมทางเพศ เฉลี่ยแล้วคะแนนเท่ากัน รองลงมาคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ตามลำดับ ส่วนเครื่องมือวิถีทางในการเคลื่อนไหว โดยการจัดกิจกรรม หรือเนื้อหาปราศรัยการชุมนุมต้องไม่ลดทอนคุณค่าทางเพศ เฉลี่ยแล้วคาดหวังมากที่สุด และในด้านความพึงพอใจการเคลื่อนไหวของม็อบคณะราษฎร ภาพรวมพึงพอใจมาก 2) เมื่อจำแนกกลุ่มคนตามความคาดหวัง ด้วยการใช้สถิติทดสอบ พบว่า เพศภาวะ การมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ และวินัยการอบรมเลี้ยงดูที่ต่างกัน  มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังในการเคลื่อนไหวของม็อบคณะราษฎรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกรัตน์ เลิศชูสกุล. (2564). สงครามเย็น (ใน) ระหว่าง โบว์ขาว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่. กรุงเทพฯ: วิภาษา.

ณัชจิรา นาคศิริ. (2557). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป.

ธนกฤต ดีพลภักดิ์. (2556). การเปิดรับสื่อ พฤติกรรม และผลกระทบจากการเล่นเกมออนไลน์ประเภท MMORPG (Massively Multiplayer Online Role-Playing Game) ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม, คณะนิเทศศาสตร์, สาขาการประชาสัมพันธ์.

บีบีซีไทย. (2563). แฟลชม็อบนักเรียน-นักศึกษา ประกายไฟในกระทะ หรือ เพลิงลามทุ่ง. ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2564 จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-51640629

ผาสุก และคณะ. (2545). วิถีชีวิต วิธีสู้ : ขบวนการประชาชนร่วมสมัย. เชียงใหม่: หจก.สำนักพิมพ์ตรัสวิน (ซิลค์เวอร์มบุคส์).

พิราภรณ์ วิฑูรัก. (2563). พลังของ ‘แฟลชม็อบ’ จะหยุดแค่รั้วมหา’ลัย หรือก้าวออกไปเคลื่อนไหวระดับชาติ?. ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2564 จาก https://thematter.co/social/power-of-flashmob/102385

พิศมัน วงศ์จำปา. (2560). พลวัตรภาคประชาชนกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองในจังหวัดพะเยา. ค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564 จาก https://dlink.me/rwIsL

พิศิษฐ์ ศรีจันทร์. (2544). ระดับความรู้และความคาดหวังขั้นพื้นฐานต่อการจัดตั้งศาลปกครองของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรระดับชั้นประทวนในสถานีตำรวจเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะรัฐศาสตร์.

พีพีทีวีออนไลน์. (2563). วิเคราะห์ "ม็อบดาวกระจาย" คนรุ่นใหม่เลือกใช้แสดงออกทางการเมือง. ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2564 จาก https://dlink.me/gbj2Z

พรรณี ตรีรัตนประยูร. (2537). อัตมโนทัศน์และความคาดหวังที่มีต่อครอบครัวของผู้ต้องขังวัยหนุ่มก่อนพ้นโทษ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์.

ภัทร์ศยา จ่าราช. (2557). ภาพลักษณ์และความหมายทางวัฒนธรรมของไทยเซเลบ ในขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองยุคหลังทักษิณ. (การศึกษาค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ.

ภูสิทธิ์ ขันติกุล. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564 จาก http://ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/322/1/047-53.pdf

วิโรจน์ พิมานมาศสุริยา. (2560). “ทัศนคติของประชาชนและพรรคการเมืองต่อการปฏิรูปประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน.” วารสารสถาบันพระปกเกล้า 15,2: 5-20.

สมชัย ภัทรธนานนท์. (2560). ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการประท้วงการเมือง. นนทบุรี: อินทนิล.

อัจฉริยา ประสิทธิ์วงศา. (2562). การสื่อสารการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพรรคอนาคตใหม่และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเจเนอเรชัน Z. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาการบริหารสื่อสารมวลชน.

เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์. (2558). “การเมืองเสื้อสีกับการศึกษาขบวนการโต้กลับตามจารีตการศึกษาขบวนการทางสังคมและการเมือง.” วารสารสังคมศาสตร์ 27,1: 85-128.

Lee, P., So, C. & Leung, L. (2015). “Social media and Umbrella Movement: insurgent public sphere in formation.”Chinese Journal of Communication 8,4: 356-375.