การกำหนดนโยบายสวัสดิการโดยรัฐบาล

Main Article Content

ปองทิทย์ ฤทธิ์อิ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการกำหนดนโยบายสวัสดิการโดยรัฐบาลนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำหนดนโยบายสวัสดิการโดยรัฐบาลเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของนโยบายสวัสดิการโดยรัฐบาลเพื่อเสนอแนวทางการกำหนดนโยบายสวัสดิการโดยรัฐบาลที่มีคุณภาพ โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informant) ด้วยวิธีแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ปฏิบัติ และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่มีส่วนได้ ส่วนเสียจากการรับบริการสวัสดิการโดยรัฐบาลในพื้นที่ 5 ภาค รวมทั้งสิ้น 55 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า
1. นโยบายที่เกี่ยวกับสวัสดิการของรัฐบาลที่ผ่านมามีปัญหาจากการกำหนดนโยบายที่ขาดรายละเอียดข้อมูลที่เป็นรากฐานของปัญหาที่จะนำมาประกอบการตัดสินใจกำหนดนโยบาย เมื่อนำไปปฏิบัติ จึงปรากฏว่าเกิดปัญหาและอุปสรรค ทำให้การบรรลุตามวัตถุประสงค์ของนโยบายเป็นไปได้ยากยิ่ง
2. ปัญหาและอุปสรรคจากการกำหนดนโยบายสวัสดิการโดยรัฐบาลไม่สามารถสนองตอบความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างครอบคลุมทั่วถึง ขาดความเสมภาค เท่าเทียมกันและความสะดวกในการใช้บริการ ปัญหาผลประโยชน์ของผู้รับสวัสดิการโดยรัฐบาลผู้ให้สวัสดิการหวังผลทางการเมือง โดยไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ที่ผู้รับสวัสดิการของรัฐบาลจะได้รับจริงหรือสนองตอบความต้องการหรือไม่ ปัญหาในเรื่องระเบียบปฏิบัติ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ ขั้นตอนมีความยุ่งยากรายละเอียดมากเกินความจำเป็น การรับสวัสดิการไม่สะดวกต้องผ่านธนาคาร ประเภทของสินค้าไม่ตรงกับความต้องการ
3. แนวทางการกำหนดนโยบายสวัสดิการโดยรัฐบาลที่มีคุณภาพต้องตอบสนองความต้องการของผู้รับสวัสดิการเป็นอันดับแรกครอบคลุมทุกคนที่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาล ศึกษาข้อมูลความคุ้มค่าก่อนกำหนดนโยบาย และปรับตามสภาพเศรษฐกิจ สังคมการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ต้องมีความเท่าเทียมกันทั้งในด้านสุขภาพอนามัย การศึกษา ที่อยู่อาศัย การมีรายได้ มีงานทำ มีความมั่นคงทางสังคม ความพร้อมของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง สำรวจทางเลือกให้ชัดเจน ควรมีระยะเวลาดำเนินการอย่างเพียงพอ สามารถแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ได้และได้รับความพึงพอใจจากผู้รับบริการ ควรพิจารณาระเบียบปฏิบัติ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ ขั้นตอน ให้มีความชัดเจนเป็นระบบไม่ยุ่งยาก มีความสะดวก ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และท้ายที่สุดต้องสนับสนุนให้ผู้รับบริการสามารถพึ่งตนเองได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. (2555). การศึกษาการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสังคมและสวัสดิการที่สอดล้องกับความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการพัฒนาสังคมของประเทศ: กรณีศึกษาในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงาน
ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2.สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2548). รายงานการศึกษาเรื่องทิศทางและรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของ
ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เทพเพ็ญวานิสย์.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2558). รายงานเวที วิชาการเปิดเสรีอาเซียนปี 2558 : สังคมไทยก้าวทันการเปลี่ยนแปลง. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร. (2546). รัฐสวัสดิการกับสังคมสวัสดิการ : มุมมองทางทฤษฎี. http://sehcu.net/mk-articles/swkm/185-welfare-state.html. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2561.

ป๋วย อึ้งภากรณ์. (2550). ทัศนะว่าด้วยเศรษฐกิจ. สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง. กรุงเทพฯ

ปิยะนุช เงินคล้าย และพงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546

โสภา อ่อนโอภาส. (2544). แนวทางการจัดระบบบริการสุขภาพของแรงงานนอกระบบ : หาบเร่แผงลอย และซาเล้ง. สภาวิจัยแห่งชาติ.

เอื้อมพร พิชัยสนิธ.(2553). เศรษฐกิจทางเลือกว่าด้วยรัฐสวัสดิการ. โอเพ่นบุ๊กส์. กรุงเทพมหานคร.

Anderson, James E.. (1975). Public Policy Making. London: Nelson.

Briggs, Asa . (2006). The welfare state in historical perspective in The welfare state. reader Christopher Pierson and Francis G. Castles ed., Polity Press, Cambridge,

Brynard, P. A. (2005). Policy Implementation: Lessons for Service Delivery, Harnessing the Partnership of the Public and Non-state Sectors for Sustainable Development and Good Governance in Africa,African Association for Administration and Management.UK.

Encyclopedia Americana. (1980). Danbury, Conn: Americana corporation.

Encyclopedia Britanica. (1968). Vol. 22. Chicago: Pergamon Press.

Eyestone, Robert (1978). Forum social issue to public policy. New York. JohnWiley.

Giddens, A. (1984). The third way. Cambridge: Polity Press.

Giddens, A. (2001). Introduction. In A. Giddens. (Ed.), The global third way debate. Cambridge: Polity.

Korpi, Walter. (2001). The working class in welfare capitalism: Work , unions and politics in Swedeen.
London: Routldege & Kegan Paul.

Lasswell, Harold D.. (1918). Politic: Who Gets What, When
and How. (Cleveland: The World Publishing
Company).

Marshall, T.H.. (2006). Citizenship and Social Class in The
welfare state. reader Christopher Pierson
and Francis G. Castles ed. Polity Press, Cambridge,
UK.

Milbrath, L. W. (1965). Political participation: How and why
do people get involved in politics?. Chicago: Rand
McNally.

Neuhaus, John. (1996). To empower: from state to civil
society. Washington, DC: American Enterprise
Institute.