นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาความยากจนของคนชนบท
Main Article Content
บทคัดย่อ
การแก้ไขปัญหาความยากจนเน้นที่บทบาทของชุมชนมากขึ้น โดยส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความยากจนในท้องถิ่นของตนเอง และ ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ ทั้งนี้เนื่องจากชุมชนมีความ ใกล้ชิดกับปัญหาย่อมรู้ถึงสาเหตุของปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชุมชน/คนจนประกอบกับรัฐธรรมนูญปัจจุบันได้เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง รวมทั้งกระบวนการกระจายอํานาจไปสู่ท้องถิ่นมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น ตลอดจนภาคประชาสังคมมีการตื่นตัวและมีบทบาทมากขึ้นในการพัฒนาประเทศ โดยแนวทางในการแก้ไขปัญหา ความยากจนในระยะต่อไปต้องมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของคนจนและชุมชนให้สามารถ พึ่งตนเองได้ ควบคู่ไปกับการวางรากฐานการปฏิรูปเชิงโครงสร้างโดยเน้นการปรับปรุงระบบบริหารจัดการ การส่งเสริมนโยบายการพัฒนาและแก้ไขกฎหมายให้เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
All contents and information in the manuscripts published by Journal of Political Science Critique are the authors’ opinions; thus, the authors take sole responsibility for any contents. The editorial board does not agree with or accept responsibility for the manuscripts.
All published articles, information, contents, pictures, or other things in Journal of Political Science Critique are Copyright by the Journal. All Rights Reserved. All contents may not be copied or duplicated in whole or part by any means without the prior written permission of Journal of Political Science Critique.
References
กาญจนา แก้วเทพ และ กนกศักดิ์ แก้วเทพ. (2530).การพึ่งตนเองศักยภาพในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร : สภาแคทอลิคแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา
ชาญชัย เพ็ชรประพันธ์กุล. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศจากแนวปรัชญาสู่การนำไปปฏิบัติจริง.กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เฉลียว
บุรภัช บุรีภัคดี. (2547). ชุดการศึกษาค้นคว้ารายวิชาทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนา.กรุงเทพ ฯ : โครงการผนึกกําลังการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอกของสถาบันราชภัฎพระนคร
ณัฐพล ขันธไชย. (2559). แนวความคิดและทฤษฎีในการพัฒนาประเทศ และการพัฒนาชนบทในการบริหารงานพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์
ดิเรก ฤกษ์หร่าย. (2557). การพัฒนาชนบท: เน้นการพัฒนาสังคมและแนวความคิด ความจำเป็นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บัญชาการทหารพัฒนาหน่วย.(2550).กองบัญชาการทหารสูงสุด. ครบรอบ 45 ปี หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา.
ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม. เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 จากwww2.narathiwat.go.th/narathiwat/.
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน (2548) “นโยบายประชาสินบนกับการแก้ปัญหาความยากจนไม่ใช่เรื่องเดียวกัน” วารสารเศรษฐ.
สุพจน์ เจริญรัตนกุล,พลตรี, (2552). แนวทางการพัฒนาส่งเสริมการปฏิบัติงานหน่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของหน่วยทหารบัญชาการ. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2551) การพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ.สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนฯ, เล่มที่ 12 : หน้า 30 - 31