การกระจายอำนาจการคลังสู่ท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีความสามารถในการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสามารถในการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ ตามนโยบายของรัฐที่ได้กำหนดเป็นแนวทางไว้สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ได้ค้นคว้าจากเอกสารเป็นการพรรณนา วิเคราะห์ และการอภิปรายผลประกอบการสัมภาษณ์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บรายได้ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ เมือง จังหวัดศรีสะเกษ รวมเป็น 3 คนที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสารงบประมาณท้องถิ่น ผลการวิจัยพบว่าความสามารถในการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ.2561 ถึง พ.ศ.2562 นโยบายกระจายอำนาจการคลังให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดนโยบาย และมาตรการต่างๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้ และได้รับการตอบสนองจากหน่วยงานของรัฐในฐานะผู้ปฏิบัติ แต่ในทางกลับกัน นโยบาย หรือ มาตรการบางประการกลับไม่ได้รับการตอบสนองจากหน่วยงานของรัฐหรืออาจได้รับ
การตอบสนองแต่เกิดความล่าช้า สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้นโยบายไม่สัมฤทธิ์ผล หรือเกิดความล่าช้าสามประการ (1) กระบวนการในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งขึ้นอยู่กับความชัดเจนของนโยบายตลอดจนความรู้ความเข้าใจของผู้ปฏิบัติว่ามีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของนโยบายมากน้อยเพียงใด (2) สมรรถนะของหน่วยงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติพบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่สามารถนำนโยบายไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากโครงสร้างและงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด
ไม่สัมพันธ์กับพื้นที่ดำเนินการ (3) บุคลากรที่มีหน้าที่นำนโยบายไปปฏิบัติพบว่าส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
นอกจากปัจจัยนี้ทั้งสามประการแล้วยังมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลให้นโยบายหรือมาตรการไม่ประสบความสำเร็จคือ สภาวะเศรษฐกิจและสังคมซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจทำให้การจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บรายได้ได้น้อย สภาวะทางการเมือง อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งส่งผลให้นโยบายขาดความต่อเนื่อง และทรัพยากรภายในพื้นที่ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นทำให้แหล่งที่มาของรายได้แตกต่างกันตลอดจนความร่วมมือของประชาชน ในการชำระภาษี สาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลไม่ประสบผลความสำเร็จตามนโยบายที่กำหนดไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
All contents and information in the manuscripts published by Journal of Political Science Critique are the authors’ opinions; thus, the authors take sole responsibility for any contents. The editorial board does not agree with or accept responsibility for the manuscripts.
All published articles, information, contents, pictures, or other things in Journal of Political Science Critique are Copyright by the Journal. All Rights Reserved. All contents may not be copied or duplicated in whole or part by any means without the prior written permission of Journal of Political Science Critique.
References
เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม.(2522). การคลังท้องถิ่นและกระจายอำนาจการคลังในประเทศ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปณัยกร บุญกอบ.(2554).การคลังภาครัฐสมัยใหม่.โครงการตำราเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
ปณัยกร บุญกอบ.(2556).การคลังท้องถิ่น แนวคิด ทฤษฎีและยุทธศาสตร์เชิงรุก.โครงการตำราเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
วรเดช จันทรศร.(2552).ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ.
กรุงเทพฯ: สมาคมนักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย.