ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจของจีน-สหรัฐอเมริกา (ค.ศ.1978-2015)

Main Article Content

ชลดา เศวตศิลา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมาของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจของจีน-สหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1978-2015) (2) วิเคราะห์นโยบายด้านเศรษฐกิจของจีนในยุคต่างๆตั้งแต่ ค.ศ.1978-2015 (3) แนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจจีน-สหรัฐอเมริกาและแนวโน้มของนโยบายจีนที่มีต่อการพัฒนาในศตวรรษที่ 21 ในการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้วิธีในหลักการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) ผลจากการวิจัยพบว่า


1.ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศจีน-สหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1978-2015) มีการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ในลักษณะที่เพิ่มพูนและประสานความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน โดยมีการพัฒนาความสัมพันธ์ไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนที่สร้างสรรค์และหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ตามลำดับ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในระดับสูงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ในประวัติศาสตร์ ส่งผลให้เกิดความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศ
2. นโยบายด้านเศรษฐกิจของจีนนับแต่เปิดประเทศของจีนในทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมาเป็นรากฐานเสริมสร้างและสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาให้มีความปรองดองกันมากขึ้นปัจจัยหลักคือ การที่ทั้งสองประเทศต่างตระหนักถึงความสำคัญของผลประโยชน์ของกันและกัน ได้จากผลประโยชน์ร่วมทั้งในระดับทวิภาคี พหุภาคี และระดับโลก ทั้งคู่จำเป็นจะต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของประเทศตนเองให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้นโดยเฉพาะความสำคัญทางเศรษฐกิจที่ทวีความสำคัญมากขึ้นในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ทำให้ต่างจำเป็นจะต้องร่วมมือกันมากขึ้น นโยบายต่างประเทศด้านเศรษฐกิจของจีนในแต่ละสมัยของผู้นำนับแต่เติ้งเสี่ยวผิงเป็นต้นมา ในแต่ละยุคตั้งแต่ ค.ศ. 1978-2015 ได้แสดงให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายและผลประโยชน์ของจีนที่ต้องการผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาประเทศ


และ 3. แนวโน้มระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีน-สหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 21 ทั้งสองประเทศมีการติดต่อ แลกเปลี่ยน เจรจา และร่วมมือกันมากขึ้นในด้านต่าง ๆเพื่อผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศเองและผลประโยชน์ของภูมิภาคและของโลกที่สอดคล้องกับแนวโน้มของนโยบายจีนที่มีต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรก็ดีในขณะเดียวกันจีนและสหรัฐอเมริกาก็ยังมีข้อขัดแย้ง ความบาดหมาง และปัญหาที่ต้องการการสะสาง แก้ไขอยู่อีกหลายเรื่อง แต่โดยภาพรวมแล้ว ความสัมพันธ์ในยุคนี้เป็นความสัมพันธ์ที่มีลักษณะเป็นมิตรและคู่แข่งต่อกัน ในขณะที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในด้านแนวโน้มของนโยบายการพัฒนาประเทศของจีนจะเป็นไปในทางสร้างการพัฒนาให้ทั่วถึงทั้งประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะนโยบายทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับการดูแลสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพิ่มศักยภาพความสามารถในการแข่งขันความร่วมมือในทางเศรษฐกิจขึ้นภายในประเทศ โดยเป็นผลมาจาก
ความร่วมมือและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศนั่นเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุลชีพ ชินวรรโณ. (2540). ฮ่องกงใต้ธงแดงจีนหนึ่งประเทศสองระบบกับฮ่องกง 1997. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วริษฐ์ ลิ้มทองกุล. (2554). มังกรผลัดแผ่นดิน The Rise of Asia’s Big Brother. กรุงเทพฯ : ผู้จัดการ.

พิชยพันธุ์ ชาญภูมิดล . (2538). ผลประโยชน์แห่งชาติ”, สราญรมย์

สุรชัย ศิริไกร.(2558).จีนในฐานะประเทศมหาอ านาจในศตวรรษที่ 21.

สันติ ตั้งรพีพากร.(2547). ยุทธศาสตร์ 3 ก้าวหนทางสู่ความสำเร็จแบบจีน.กรุงเทพฯ : มติชน.

สมภพ มานะรังสรรค์.(2546). พัฒนาการเศรษฐกิจจีนหลังยุคปฏิรูปฯ,” ใน จีน มหาอำนาจในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : วิถีทรรศน์.

ยิง, ลี เทีย. (2548) “ทฤษฎีว่าด้วยการเปิดประเทศ.” ในลู่ทางการปฏิรูปและเปิดประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน,

กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน-คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

Retrieved Jul 5, 2016 from พิเชฎฐ์ ชัยยัง, เศรษฐกิจของประเทศจีน , http://www.baanjomyut.com/library/china/01_2.html.

Retrieved Aug 10,2016 from อธึกกิต แสวงสุข. โอบามา: การเมืองใหม่ เศรษฐกิจใหม่ [Online]. Available URL: http://pokpong.org/in-the-news/obama-regime/

Retrieved Jul 20, 2016 from วิธีร์ พานิชวงศ์, สิทธิ สุนทรานุรักษ์ และวิเชียร แก้วสมบัติ, ทุนนิยมจีนบนกระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ:http://www.thailandindustry.com/home/news_print.php?id=1215%A7ion

Retrieved Apr 12, 2016 from แกะรอยสื่อจีน: “สังคมนิยม” สู่“ทุนนิยม”: http://www .manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9550000104918

Retrieved Aug 8,2017 from วริษฐ์ ลิ้มทองกุล. อนาคตความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ:http://info.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=77976