นโยบายการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายที่มีต่อกลุ่มประมงพื้นบ้าน จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ยุพดี หวังทวีพทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับนโยบายแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายต่อกลุ่มประมงพื้นบ้านในจังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินผล ปัญหาอุปสรรค และเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงนโยบาย โดยมีกรมพัฒนาทางทะเลและชายฝั่งเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินนโยบาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ เจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกลุ่มประมงพื้นบ้าน จำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่า นโยบายการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการโดยเฉพาะการปลดใบเหลืองจากสหภาพยุโรป แต่ผลจากการดำเนินนโยบายได้สร้างผลกระทบเป็นวงกว้างแก่ชาวประมง โดยเฉพาะกลุ่มประมงพื้นบ้านที่ได้รับผลกระทบโดยตรงไร้การเยียวยาเหมือนกลุ่มประมงพาณิชย์ นอกจากนี้กระบวนการก่อร่างทางนโยบายยังมีปัญหาเนื่องด้วยมาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยไม่ผ่านกระบวนการปกติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมประมง.(2558).อาชีพประมง.ค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www4.fisheries.go.thเนชั่น.(2560).เทียร์ คืออะไร.26 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.nationtv.tv/main/content/378554169/

พิมพ์ประไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา.(2560).เรื่อง ผลกระทบจากการบังคับใช้มาตรการแก้ไขปัญหาการทาประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมที่มีต่อชาวประมงพื้นบ้าน :กรณีศึกษาอ่าวตราด จังหวัดตราด.บทความวิจัยคณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา

พรเทพ ทองดี.(2563).การประเมินผลนโยบายการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุมที่มีต่อกลุ่มประมงพื้นบ้าน จังหวัสมุทสาคร.

การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ฟาร์มไทยแลนด์.(2556).การประมง.ค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.farmthailand.com/203

วชิรวัชร งามละม่อม.การประเมินผลนโยบาย.(2559). ค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2563, จาdhttp://learningofpublic.blogspot.com/2016/01/

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป.(2561).การค้ามนุษย์.ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.moac.go.th/foreignagri-about-structure