การจัดการองค์การในภาวะวิกฤติฉุกเฉิน ของบริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน)
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อกลไกในการบริหารจัดการในภาวะวิกฤติฉุกเฉินของบริษัทการบินไทย จากัด
(มหาชน) 2) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการในภาวะวิกฤติฉุกเฉินของบริษัทฯ และ 3) เสนอแนวทางการบริหารจัดการในภาวะวิกฤติฉุกเฉิน ของบริษัทฯ งานวิจัยนี้ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ เอกสาร งานวิจัย รายงานการประชุม และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสําคัญ 9 คน เพื่อสํารวจข้อมูลด้านทัศนคติ ภาพรวมในการจัดการภาวะวิกฤตฉุกเฉินของบริษัทฯตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นผลการวิจัยพบว่าฝ่ายบริหารของบริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) สามารถกําหนดบทบาทหน้าที่ภายใต้นโยบายและมาตรการที่เหมาะสมในการควบคุมจํากัดขอบเขต
ภาวะวิกฤติเพื่อไม่ให้ภาวะวิกฤติขยายวงกว้างออกไปได้ นอกจากนี้งานวิจัยได้เสนอแนะแนวทางการจัดการภาวะวิกฤติของบริษัท ฯ ดังนี้ 1) โครงสร้างในการบริหารจัดการต้องมีความกระชับ ไม่มีโครงข่ายที่ซับซ้อน 2) การกําหนดนโยบายต้องสอดคล้องไม่ขัดกับภาครัฐ และการดําเนินนโยบายต้องทําได้รวดเร็ว และ 3) ผู้นําควรมุ่งเน้นความสําเร็จของงาน มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบทรัพยากรมนุษย์ มีความรู้และความชํานาญในธุรกิจการบิน การบริหารความเสี่ยง และงบประมาณ ตลอดจนสามารถสร้างบรรยากาศการทํางานที่เป็นสุขให้แก่พนักงาน เพื่อให้บริษัทให้พ้นสภาพจากปัญหาขาดทุน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
All contents and information in the manuscripts published by Journal of Political Science Critique are the authors’ opinions; thus, the authors take sole responsibility for any contents. The editorial board does not agree with or accept responsibility for the manuscripts.
All published articles, information, contents, pictures, or other things in Journal of Political Science Critique are Copyright by the Journal. All Rights Reserved. All contents may not be copied or duplicated in whole or part by any means without the prior written permission of Journal of Political Science Critique.
References
ชมพู โกติรัมย์. (2561). ศตวรรษที่ 21 ปัจจัยการผลิตที่ท้าทายก้าวย่างที่ต้องปรับของไทย. ค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2561, จากhttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3866.
ธนบดี ครองยุติ. (2555). การสื่อสารภาวะวิกฤติอุทกภัยของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (Unpublished Doctoral dissertation). นนทบุรี:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ดุษณีย์ ยศทอง. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่องค์การพยาบาลสมรรถนะสูง: กรณีศึกษา โรงพยาบาลศิริราช (Unpublished Doctoral dissertation). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2558). การพัฒนาองค์การและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัททริปเพิ้ล กรุ๊ป.
ประสาน หอมพูลและทิพวรรณ หอมพูล. ( 2540). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
ไพรัช ธัชยพงษ์ และ พิเชษ ดุรงคเวโรจน์. (2541). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2561 จาก www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=9776&Key=news_research
สุวิมล จินะมูล. (2559). บทบาทสื่อโทรทัศน์ยุคดิจิทัลในการรายงานข่าวแผ่นดินไหวประเทศเนปาล ของสถานีโทรทัศน์พีทีวี(Unpublished Master’s thesis).
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Gibson, J. L., Ivancevich, J. M., and Donnelly, J. H. (1997). Organization: Behavior, Structure, Process. Boston: McGraw-Hill.
Iftikhar, R. (2017). Crisis management in project based organizations and mega projects: an integrated approach (Unpublished Master’s thesis). Italy: Libera University.