การศึกษาพัฒนาการภารกิจกาชาดไทยในด้านการบรรเทาทุกข์ให้กับสาธารณะในกรอบการวิเคราะห์แบบ Incrementalism Model

Main Article Content

ศิริรักษ์ นิทัศน์เอก

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การศึกษาพัฒนาการภารกิจกาชาดไทยในด้านการบรรเทาทุกข์ให้กับสาธารณะในกรอบการวิเคราะห์แบบ Incrementalism Model มีวัตถุประสงค์ของงานวิจัย เพื่อศึกษานโยบายการดำเนินภารกิจสภากาชาดไทยในด้านการบรรเทาทุกข์เพื่อมนุษยธรรม ศึกษาพัฒนาการของสภากาชาดไทยในการทำหน้าที่บรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนในฐานะผู้ประสบภัยในรัฐไทยในกรอบการวิเคราะห์แบบ Incrementalism Model และเสนอแนะการพัฒนาสภากาชาดไทยในด้านการบรรเทาทุกข์ที่เหมาะสมกับรัฐไทย งานชิ้นนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์กลุ่มตัวแสดงที่เกี่ยวข้องกับภารกิจกาชาดไทย 17 คน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามข้อมูลการวิจัย 


ผลการศึกษาวิจัยพบว่า (1) นโยบายการดำเนินภารกิจสภากาชาดไทยในด้านการบรรเทาทุกข์ สภากาชาดไทยคงรักษาหลักมนุษยธรรมและรักษาอิสระ สามารถปรับตัวร่วมกับรัฐได้อย่างต่อเนื่อง มีโครงสร้างการบริหารเชิงนโยบายแบบคณะกรรมการซึ่งมีนัยสำคัญจากที่มาของตัวแสดง  และมีกลไกการบรรเทาทุกข์ในพื้นที่สองรูปแบบ คือ สถานีกาชาดและเหล่ากาชาดจังหวัด ส่งผลให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยรวดเร็วและทั่วถึง (2) พัฒนาการของสภากาชาดไทยในการทำหน้าที่บรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนในรัฐไทยในกรอบการวิเคราะห์แบบ Incrementalism Model ค่อยเป็นค่อยไปและมีการปรับตัวตามสถานการณ์ โดยแบ่งยุคของพัฒนาการออกเป็น 5 ช่วง ได้แก่ การบรรเทาทุกข์จากภัยสงคราม  พ.ศ.2436-2489 การบรรเทาทุกข์ด้านสาธารณภัยในเชิงพื้นที่ พ.ศ.2490-2519 การบรรเทาทุกข์ตามหลักมนุษยธรรมสากล พ.ศ.2520-2545 การบรรเทาทุกข์เชิงรุก พ.ศ.2546-2554 และการบรรเทาทุกข์แบบบูรณาการด้วยเทคโนโลยี พ.ศ.2555-ปัจจุบัน (3) การพัฒนาสภากาชาดไทยในด้านการบรรเทาทุกข์ที่เหมาะสมกับภาครัฐไทย ควรพัฒนาเทคโนโลยีในฐานะกลไกเชิงสถาบันในการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานอย่างยั่งยืน งานวิจัยจึงเสนอแนะเชิงนโยบายการดำเนินภารกิจกาชาดไทยด้านการบรรเทาทุกข์ให้คงรักษาความเป็นอิสระ วางเกณฑ์กำหนดตำแหน่งแห่งที่ให้กับสถานีกาชาด จัดความสัมพันธ์ระหว่างสถานีกาชาดและเหล่ากาชาดจังหวัด พัฒนาแนวทางการสร้างอาสาสมัครด้านการบรรเทาทุกข์ในพื้นที่ รวมถึงตั้งกองทุนเพื่อบรรเทาทุกข์ในระดับพื้นที่ด้วยหลักการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Charles E. Lindblom (1959). “The Science of "Muddling Through”” Public Administration Review, 19(2): 79-88.

IFRC (2021). ค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://media.ifrc.org/ifrc/

USAID (2021). ค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์2565 จาก https://www.usaid.gov/partnership-opportunities/ngo.

สภากาชาดไทย (2558). พลวัตรและนวัตกรรมของสภากาชาดไทยฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเนื่องในพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558. กรุงเทพฯ: สภากาชาดไทย.

สภากาชาดไทย (2564). สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 จากhttps://www.redcross.or.th.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2546). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

สมพร เฟื่องจันทร์. (2539). นโยบายสาธารณะทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

พระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดไทย พ.ศ.2461. (2550, 14 สิงหาคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124, ตอนที่ 41 ก.. หน้า 9.

พระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดไทย พ.ศ.2463. (2563, 7 พฤศจิกายน) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 37. หน้า 267.

พระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดไทย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐. (2550, 14 สิงหาคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124. หน้า 267. ตอนที่ 41 ก.

ข้อบังคับสภากาชาดไทย พ.ศ.2500. (2500, 18 มิถุนายน) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 74, ตอนที่ 54. หน้า 1081.

สุดา ปริวัติธรรม (2534). สภากาชาดไทยกำเนิดและพัฒนาการ (พ.ศ.2436 - 2485) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์.