ความหลากหลายในการจัดหารายได้ของเทศบาล: ความท้าทายของการบริหารจัดเก็บรายได้ท้องถิ่นของไทย

Main Article Content

ศิวาภรณ์ ไชยเจริญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายในการจัดหารายได้ขององค์กรปกครองท้องถิ่นในระดับเทศบาลของไทย งานวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์ความหลากหลายในการจัดหารายได้ของเทศบาลในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 รวมถึงนำเสนอตัวแบบในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความหลากหลายในการจัดหารายได้ในการบริหารจัดเก็บรายได้ของเทศบาล การศึกษาวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณโดยสุ่มตัวอย่างเทศบาลจำนวน 344 แห่งทั่วประเทศ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลการจัดเก็บรายได้และบริบทพื้นที่ของเทศบาลตัวอย่างจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น งานวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์ตัวแบบของความหลากหลายในการจัดหารายได้ของเทศบาลด้วยการวิเคราะห์ถดถอยหลายตัวแปรโดยวิธี Generalized Least Square (GLS) ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความหลากหลายดังกล่าวอยู่ที่ร้อยละ 62.10 และพบว่า เทศบาลนครมีความหลากหลายในการจัดหารายได้มากที่สุด รองลงมาได้แก่ เทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าโครงสร้างเชิงสถาบัน ภูมิภาค บริบทของเศรษฐกิจชุมชน ขีดความสามารถในการจัดหารายได้ ความเป็นอิสระทางด้านรายได้ และประสิทธิภาพของการบริหารงานของเทศบาลมีอิทธิพลต่อความหลากหลายในการจัดหารายได้ของเทศบาลอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ การศึกษาวิจัยนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าความหลากหลายในการจัดหารายได้เป็นความท้าทายต่อการพัฒนานโยบายการบริหารจัดเก็บรายได้ของเทศบาลและองค์กรปกครองท้องถิ่นในรูปแบบอื่นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กิตติพงษ์ เพียรพิทักษ์. (2563). ความอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับปัญหาการกำกับดูแลของรัฐ. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, (กันยายน - ธันวาคม).

Kitipong Pianpitak. (2563). The autonomy of local government organizations and the problem of the central government supervision. King Prajadhipok’s Institute Journal, (September-December).

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2559). การคลังท้องถิ่น: การขยายฐานรายได้และมาตรการลดความเหลื่อมล้ำ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

Direk Pattamasiriwat. (2559). Local finance: The expansion of revenue base and disparity reduction strategy. Bangkok: King Prajadhipok’s Institute.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2551). ขีดความสามารถในการหารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรอบวิเคราะห์เบื้องต้น. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 6(1).

Weerasak Krueathep. (2551). Revenue raising capacity of local government organizations: Preliminary analysis framework. King Prajadhipok’s Institute Journal, 6(1).

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2552). สุขภาพทางการคลังของเทศบาล: กรอบแนวคิดและผลการวิจัยเชิงประจักษ์. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 7(2) (พ.ค.-ส.ค. 2552): 60-83.

Weerasak Krueathep. (2552). Municipal fiscal health: Framework and the empirical research findings. King Prajadhipok’s Institute Journal, 7(2) (May-August 2552): 60-83.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2555). กลยุทธ์การปรับตัวทางการเงินการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้ภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

Weerasak Krueathep. (2555). Retrenchment strategies for Thai local governments under the crisis. Bangkok: King Prajadhipok’s Institute.

วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ. (2563). การพัฒนาระบบบริหารจัดเก็บรายได้ท้องถิ่น (ระยะที่ 2) (รายงานวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติและสถาบันคลังสมองของชาติ.

Weerasak Krueathep et al. (2565). Enhancing Capabilities of local revenue administration in Thailand (Phase II Study) (Research Report). Bangkok: National Research Council of Thailand and Knowledge Network Institute of Thailand.

สกนธ์ วรัญญูวัฒนา. (2554). วิถีใหม่การพัฒนารายรับท้องถิ่นไทย. นนทบุรี: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.

Sakon Varanyuwatana. (2554). New normal of local revenue generation in Thailand. Nonthaburi: The College of Local Government Development, King Prajadhipok’s Institute.

สุพัฒน์จิตร ลาดบัวขาว. (2563). การคลังท้องถิ่น: สภาพปัญหา และแนวทางแก้ไข. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 11(1) (มกราคม-มิถุนายน): 189-214.

Supatchit Ladbuakhaw. (2563). Local Finance: Problems and the resolutions. Journal of Political Science and Public Administration, 11(1) (January-June): 189-214.

Reference

Carroll, D. A. (2005). Are state governments prepared for fiscal crises? A look at revenue diversification during the 1990s. Public Finance Review, 33(5), 603-633.

Carroll, D. A. (2009). Diversifying municipal government revenue structures: Fiscal illusion or instability? Public Budgeting & Finance, 29(1), 27-48.

Carroll, D. A., & Johnson, T. (2010). Examining small town revenues: To what extent are they diversified? Public Administration Review, 70(2), 223-235.

Green, W. H. (2008). Econometric analysis. Upper Saddle River, NJ: Pearson Education.

Hendrick, R. (2002). Revenue diversification: Fiscal illusion or flexible financial management. Public Budgeting & Finance, 22(4), 52-72.

Jordan, M. M., & Wagner, G. A. (2008). Revenue diversification in Arkansas cities: The budgetary and tax effort impacts. Public Budgeting & Finance, 28(3), 68-82.

Ladd, H. F., & Weist, D. R. (1987). State and local tax systems: Balance among taxes vs. balance among policy goals. In F. D. Stocker (Ed.), The Quest for Balance in State-Local Revenue Structures (pp. 39-70). Cambridge, MA: Lincoln Institution of Land Policy.

Shannon, J. (1987). State revenue diversification-the search for balance. In F. D. Stocker (Ed.), The Quest for Balance in State-Local Revenue Structures (pp. 9-38). Cambridge, MA: Lincoln Institution of Land Policy.

Suyderhoud, J. P. (1994). State-local revenue diversification, balance, and fiscal performance. Public Finance Quarterly, 22(2), 168-194.

Woodridge, Jeffrey M. (2013). Introductory Econometrics: A Modern Approach. Mason, OH: South-Western, Cengage Learning.