ราชการส่วนภูมิภาคกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในรัฐไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้บรรยายถึงราชการส่วนภูมิภาคของรัฐไทยที่มีพัฒนาการมาจาก “ระบบเทศาภิบาล” ของรัฐสยามในยุคพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับราชการส่วนภูมิภาคในระดับมณฑล จังหวัด และอำเภอของสาธารณรัฐฝรั่งเศสในยุคปฏิวัติ ค.ศ. 1789 (พ.ศ. 2332) ถัดมาเมื่อรัฐไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2475 ต่อเนื่องถึงยุคเริ่มต้นการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2504 นั้น ราชการส่วนภูมิภาคได้ทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการนำและติดตามนโยบายของรัฐบาลกลางไปสู่การปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผลมาโดยตลอดในช่วง 5-6 ทศวรรษที่ผ่านมา
แนวคิดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด (ผวจ.) ย่อมหมายถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบราชการไทยในปัจจุบันให้เหลือเพียงราชการส่วนกลางกับราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น แต่โดยข้อเท็จจริงที่การเลือกตั้งในทุกระดับมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันอย่างแพร่หลายทั่วรัฐไทย ประกอบกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)ในรัฐไทยเกือบทั้งหมดมีปัญหาฉกรรจ์เรื้อรังหลายเรื่องหลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาคอร์รัปชั่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ปัญหาการใช้งบประมาณไม่คุ้มค่าเงินลงทุน ปัญหาการจ้างบุคคลากรเกินปริมาณงาน และความ ไร้วินัยการคลังภายใต้บริบทการบริหารงานท้องถิ่นที่มีอิสระสูงมาก ผู้เขียนมีความเห็นว่าการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดควรเป็นเรื่องของอนาคตที่ไม่ไกลนักในการรอคอยให้วัฒนธรรมการเมืองใหม่เติบโตขึ้นมาเป็นเสียงข้างมากอย่างชัดเจนในสังคมไทย อันจะส่งผลให้เวทีการเลือกตั้งในอนาคตหลุดพ้นจากวิถีธนาธิปไตย และเมื่อนั้นจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทยที่จะต้องเลือกตัดสินใจร่วมกันว่าควรเปลี่ยนโครงสร้างระบบราชการให้เป็นไปตามรูปแบบของประเทศญี่ปุ่น หรือให้คงไว้เหมือนเดิมตามรูปแบบของฝรั่งเศส
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
All contents and information in the manuscripts published by Journal of Political Science Critique are the authors’ opinions; thus, the authors take sole responsibility for any contents. The editorial board does not agree with or accept responsibility for the manuscripts.
All published articles, information, contents, pictures, or other things in Journal of Political Science Critique are Copyright by the Journal. All Rights Reserved. All contents may not be copied or duplicated in whole or part by any means without the prior written permission of Journal of Political Science Critique.
References
Bowornwathana, B. (1996). Political Realities of Local Government Reform in Thailand. In Kurosawa, S., Fujiwara, T. & Reforma, M. (Eds.), New Trends in Public Administration for the Asia-Pacific Region: Decentralization (pp.79-88). The Local Autonomy College, Ministry of Home Affairs, Tokyo, Japan.
Charoenrattanakul, S. (2008). khwāmlư̄amlam dān rāidai khō̜ng ʻapa thō̜ . nai rat Thai patčhuban. [Income inequality of Local administrative organizations in the current Thai state] In Charoenrattanakul, S. (Ed.), Thai local finance Class Teaching Material (pp.1-15). The colleague of Local Administration, Khon Kean University.
Charoenrattanakul, S. (2011). botbāt khō̜ng krom songsœ̄m kān pokkhrō̜ng thō̜ngthin kap kān kǣkhai panhā khwāmlư̄amlam rāidai khō̜ng ʻapa thō̜ . nai rat Thai patčhuban. [The role of the Department of Local Administration in solving the Local administrative organizations income inequality in the Thai state] In kao pīk rom songsœ̄m kān pokkhrō̜ng thō̜ngthin. [9th Year, Department of Local Administration] (pp.7-21). Bangkok: Department of Local Administration, Ministry of Interior.
Charoenrattanakul, S. (Ed.). (1986). kānmư̄ang - kānbō̜rihān rātchakān Thai: rūam botkhwām nakwichākān tāngprathēt phāk nưng - phāk hok. [Thai's Politics -–Public Administration: articles collection by foreign academics, Part 1 - Part 6] Bangkok: Odeonstore Publishing.
Chayaboot, C. (1996). kān pokkhrō̜ng thō̜ngthin Thai. [Thai Local Administration] Bangkok: Pickanes Printing Center.
Conyers, D. (2006). Decentralization, The Latest Fashion in Development Administration. In Otenyo, E. E. & Lind, N. S. (Eds.), Comparative Public Administration: The Essential Readings (pp.447 – 462). Amsterdam and Oxford: Elsevier Ltd.
Gremion, C. (2002). Local Government Development in France: Comparison With Japan. Cambridge, UK: Cambridge University Press.
Herolf, G. (2004). France, Germany, and the United Kingdom: Cooperation in Time of Turbulence. Stockholm: Stockholm University Press.
Jarntorn, C. et. al. (2000). wiwatthanākān kān pokkhrō̜ng thō̜ngthin Thai. [Evolution of Thai Local Administration] Bangkok: Office of the Civil Service Commission.
LaPalombara, J. (Ed.). (1967). Bureaucracy and Political Development. Princeton : Princeton University Press.
Yuvapurna, C. (1960). kān rūam ʻamnāt læ kārok ra čhā yaʻam nā čhō̜ thāngkān pokkhrō̜ng khō̜ ngok ta māi Thai. [Centralization and Decentralization of Administrative powers in Thai Legal System] Bangkok: Local Printing, Department of Provincial Administration, Ministry of Interior.