ศึกษาวัฒนธรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในสภาวะวิกฤติ “โควิด-19” โรงเรียนพระธาตุบังพวนวิทยา จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

อนันต์ คติยะจันทร์
พระสมุห์หัตถพร ปิยธมฺโม (คำเพชรดี)
พระมหานิพิฐพนธ์ จิรวฑฺฒโน (วงศ์อนุ)
พระมหาเอกชัย วิสุทฺโธ (โคตรสุนทร)
สมพงษ์ แสนคูณท้าว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


                การศึกษาวิจัยเรื่อง “ศึกษาวัฒนธรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในสภาวะวิกฤติ “โควิด-19” โรงเรียนพระธาตุบังพวนวิทยา จังหวัดหนองคาย” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัฒนธรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในสภาวะวิกฤติ “โควิด-19” โรงเรียนพระธาตุบังพวนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย       2) ศึกษาปัจจัยที่สำคัญต่อวัฒนธรรมการเรียนรู้ในสภาวะวิกฤติ “โควิด-19” โรงเรียนพระธาตุบังพวนวิทยา อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย วิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 โรงเรียนพระธาตุบังพวนวิทยา อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย จำนวน 151 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา                 ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในสภาวะวิกฤติ “โควิด-19” โรงเรียนพระธาตุบังพวนวิทยา อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก                        โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการใช้สื่อและอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ย (   = 4.31) ด้านการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย (  = 4.27) ด้านสภาพแวดล้อม และด้านผู้เรียน มีค่าเฉลี่ย  (  = 4.23)               ซึ่งสรุปได้ว่า วัฒนธรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในสภาวะวิกฤติ “โควิด-19” ของนักเรียนทั้ง 4 ด้านนั้น              มีความพร้อมต่อการจัดการเรียนการสอนได้อย่างครอบคลุมทุกด้าน นักเรียนมีความพร้อมด้านการสื่อสารและความพร้อมด้านอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน และยิ่งไปกว่านั้น นักเรียนยังสามารถนำไปปฏิบัติในสภาพแวดล้อมทุกพื้นที่ เช่น ที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือใช้เน็ตประชารัฐ จนกระทั่งทำการวัดผลและประเมินผลได้ในผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการก่อนเปิดภาคเรียน. เรียกใช้เมื่อ 15 มิถุนายน 2563, จาก https://moe360.blog/2020/05/08/

แก้วตา ไทรงาม, ประชุม โพธิกุล, เวช มงคล และณรงค์ ดาวเจริญ. (2548). ผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้าง องค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา.

ขวัญตา เจริญศรี.(2562). รูปแบบสังคมแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาเทศบาลนครนครปฐม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิรกิติ์ ทองปรีชา. (2562). การบริหารจัดการการเรียนการสอน ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ระดับ

มัธยมศึกษาพื้นที่โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร, กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธานินทร์ อินทรวิเศษ,ธนวัฒน์ เจริญษา และพิชญาภา ยวงสร้อย. (2564). ภาพสะท้อนการศึกษาไทยหลังภาวะโควิด 2019, วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(4), 323-333.

วิเชษฐ จิตรสงวน. (2556). การพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ใน ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุภัค ฟักเงิน และสิรินภา กิจเกื้อกูล. (2564). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 : กรณีศึกษาโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่ง ในเขตภาคเหนือตอนล่าง, วารสารศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(3), 223-235.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2558). ปรัชญาและมโนทัศน์สังคมแห่งการเรียนรู้ = Philosophies and Concepts of Learning Society. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวรัจ รัตนคาฟู. (2563). วิกฤตโควิด-19 รัฐต้องเร่งลดช่องว่างดิจิทัล เพื่อความเท่าเทียมในห้องเรียน.เรียกใช้เมื่อ 10 กรกฎาคม 2563 จาก https://tdri.or.th/2020/04/digital-divide-online-education-inequalities/

Office of the Basic Education Commission. (2020). Education in the digital age. Retrieved March 19, 2021, from https://www.posttoday.com/social/general/