การบูรณาการหลักฆราวาสธรรมกับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการครู ในสถานการณ์โควิด - 19

Main Article Content

พระครูภาวนาโพธิวิสุทธิ์ โกวิโท (ตาตะมิ)

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของฆราวาสธรรม และเพื่อศึกษาการบูรณาการหลักฆราวาสธรรมกับการปฏิบัติงานของครู ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผลการศึกษาพบว่า การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีผลกระทบต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนถดถอยลง ตลอดถึงความไม่พร้อมในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของครูและนักเรียน โดยเฉพาะครูที่มีหน้าที่ในการสอน ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากการสอนในชั้นเรียนเปลี่ยนเป็นการสอนแบบออนไลน์ ทำให้การทำงานของครูมีภาระเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หลักธรรมที่ครูควรนำมาบูรณาการใช้ในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คือ หลักฆราวาสธรรม หมายถึง ธรรมสำหรับฆราวาส หรือธรรมสำหรับการครองเรือน มี 4 ประการ คือ 1) สัจจะ คือ ความจริง 2) ทมะ คือ การข่มใจ 3) ขันติ คือ ความอดทน 4) จาคะ คือ ความเสียสละ ซึ่งอาชีพครูจำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ ตรงต่อเวลา มีความจริงใจต่อการสอนแบบออนไลน์ ครูต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ในการสอน ยิ่งต้องใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการสอนแบบออนไลน์แล้ว ครูจะต้องรู้จักพัฒนาตนเองให้รู้เท่าทันอยู่เสมอครูต้องมีความอดทนสูง ในการสอนศิษย์ที่เรียนไม่ทันเพื่อน หรือศิษย์ที่เกิดปัญหาจากการใช้เทคโนโลยีออนไลน์ และครูต้องรู้จักเสียสละทั้งเวลา เสียสละหน้าที่ในบ้าน เอื้อเฟื้อต่อลูกศิษย์และผู้ปกครอง เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด – 19 ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

กนนกวรรณ สุภาราญ. (2563). ทักษะครูกับการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ยุคใหม่. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.educathai.com/knowledge/articles/372.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการก่อนเปิดภาคเรียน 1 กรกฎาคม 2563. เรียกใช้เมื่อ 4 กันยายน 2564 จาก https://shorturl.asia/eFjzd.

ณิชา พิทยาพงศกร. (2563). นิวนอร์มอลของการศึกษาไทยคืออะไร เมื่อการเรียนทาง ไกลไม่ใช่คำ ตอบ. เรียกใช้เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2564 จาก https://tdri.or.th/2020/05/desirable-new-normal-for-thailand-education/.

ทัตตชีโว ภิกขุ. (2529). ฆราวาสธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์นิวไวเต็ก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.

พระสมทบ ถิรปญฺโญ (รุ่งมิตรจรัสแสง). (2554). ภาวะผู้นำของเยาวชนตามหลักฆราวาสธรรม 4 : กรณีศึกษาโรงเรียนหล่มสักวิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2563). ผลกระทบของ COVID-19 ต่อระบบการศึกษาของโลกและประเทศ ไทยในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://thaipublica.org/2020/04/19-economists- with-covid-19-15/.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงานเรียนออนไลน์ยุคโควิด-19 วิกฤติหรือโอกาสการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.