ปัจจัยการพัฒนาตนเองของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพงาน ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยพัฒนาตนเองของบุคลากร 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพงาน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยพัฒนาตนเองของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพงาน และ4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะปัจจัยพัฒนาตนเองของบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ประชากร ได้แก่ บุคลากรผู้ที่ปฏิบัติงานสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 641 คน คำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างตามวิธีของทาโร ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 247 คน เก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ โดยวิธี Enter ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการพัฒนาตนเองของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิภาพงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการพัฒนาตนเองของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น พบว่า ปัจจัยการพัฒนาตนเองของบุคลากร มีค่าสหสัมพันธ์กับประสิทธิภาพงาน โดยมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองมากที่สุด เท่ากับ .803 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ปัจจัยการพัฒนาตนเองของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวม สามารถอธิบายได้ร้อยละ 75.3 มีค่า R2 = .753 และมีค่า F = 245.380 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) ข้อเสนอแนะ คือ บุคลากรต้องมีการวิเคราะห์ตนเองว่ามีความสามารถในด้านใด แล้วจึงพัฒนาศักยภาพของตนเองตามความสามารถหรือความชำนาญ บุคลากรต้องมีการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมในตำแหน่งงานที่ปฏิบัติอยู่อย่างสม่ำเสมอ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
กานต์สิริ กาวินและพิชิต รัชตพิบุลภพ. (2564). ประสิทธิภาพการดำเนินงานของข้าราชการกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 9(2), 73-81.
กิ่งกาญจน์ ชัยเสนา. (2557). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
นารีรัตน์ จันทนันท์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2545). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.
พฤธิสิทธิ์ อุทุม. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราการองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว. ใน นิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิชญา วัฒนรังสรรค์. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 4 ดาว ย่านสยามสแควร์. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ภาสิต ศิริเทศ และณพวิทย์ ธรรมสีหา. (2562). ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(2), 58-65.
วีรนุช หอมทรัพย์. (2555). ความต้อการในการพัฒนาตนเองของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริลักษณ์ ตันตยกุล. (2562). การเมืองในจีน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สามารถ ยิ่งกำแหง. (2553). แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของชาวบ้านหินหล่องในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สิรินภา ทาระนัด. (2561). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. (2565). กรอบอัตรากำลังบุคลากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. ขอนแก่น : องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น.
อุทัย เลาหวิเชียร. (2560). มิติของความล้มเหลวในการบริหารงานภาครัฐที่ถูกมองข้ามกับความโปร่งใสและธรรมาภิบาล. วารสารรัชต์ภาคย์, 11(24), 1-27.
Taro, Y. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row Publications.
Williams, Walter. (1971). Social Policy Research and Analysis: The Experience in the Federal Social Agencies. New York : American Elsevier Publishing Co.