ภาวะผู้ตามของครูผู้สอนตามความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้ตามของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้ตามของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวนประชากรจำนวน 63 โรงเรียน จำนวน 143 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้รักษาการตำแหน่ง จำนวน 104 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเที่ยง 0.954 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ระดับภาวะผู้ตามของครูผู้สอน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีความรับผิดชอบ รองลงมาคือ ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แนวทางการพัฒนาภาวะผู้ตามของครูผู้สอน ได้แก่ 1) ผู้บริหารจะต้องส่งเสริมให้คณะครูเข้ารับการอบรม การทำ PLC การทำวิจัยในชั้นเรียน การสร้างสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) ผู้บริหารจะต้องจัดให้ครูผู้สอนเข้ารับการอบรม สัมมนาระหว่างเพื่อนครู สร้างกลุ่มเครือข่ายครูผู้สอนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ 3) ผู้บริหารจะต้องให้ครูผู้สอนเข้ารับการอบรม สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างนวัตกรรมการศึกษา นำนวัตกรรมไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ทำการประเมินผลการใช้งานนวัตกรรม 4) ผู้บริหารจะต้องจัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงาน การจัดอบรมพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี การเปิดโอกาสให้คณะครูร่วมแสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
พระทอง บุตรดี และศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2564). แนวทางการพัฒนาองค์กรนวัตกรรมยุค 4.0 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 8(2), 67-84.
พีรวัสดิ์ เพ็ชรทอง และกาญจน์ เรืองมนตรี. (2563). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 204-217.
วรากร หงษ์โต. (2553). การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้กระบวนการสร้างความรู้เพื่อการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วีรเชษฐ์ มั่งแว่น และอมรินทร์ เทวตา. (2563). ภาวะผู้ตามที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(1), 29-40.
สามารถ อัยกร และคณะ. (2560). บทบาทของผู้ตามในคุณลักษณะภาวะผู้ตามแบบมีประสิทธิผล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 9(1), 195-203.
สุกัญญา มีสมบัติ. (2557). ภาวะผู้ตามที่มีประสิทธิภาพทีมงานที่มีอิทธิพลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. ใน การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุรพงษ์ เอิมอุทัย. (2564). แนวทางการพัฒนาครูและบุคลคากรอาชีวศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาเพื่ออาชีพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 6(2), 164-176.
อารีย์ อ่องสว่าง และนิตยา นิลรัตน์. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และคุณลักษณะของผู้ตามที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดนราธิวาส. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(2), 272-287.
Kelley, R. E. (1992). The power of followership. New York : Doubleday.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.