การศึกษาวิเคราะห์หลักจริยธรรมของเทวดาที่มีต่อประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

พระมหาอนุวัฒน์ อนุวฑฺฒโน
พระครูจิร ธรรมธัช
พระมหาไพฑูรย์ สิริธมฺโม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความมีอยู่ของเทวดาและจริยธรรมของเทวดาในพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาความเชื่อเรื่องเทวดาที่มีต่อประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย และ      3) วิเคราะห์หลักจริยธรรมของเทวดาที่มีต่อประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก


ผลการวิจัยพบว่า ความมีอยู่ของเทวดาและจริยธรรมของเทวดาในพระพุทธศาสนา คือสัตว์ผู้ที่อาศัยอยู่ในเทวโลกในชั้นสวรรค์ มี 6 ชั้น เรียกว่า ฉกามาพจร หมายถึง ภพภูมิที่ยังติดอยู่ในบ่วงกามตัณหา มีการจุติ เกิด ดับ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา แบ่งเป็น 3 จำพวก คือ สมมุติเทพ อุบัติเทพ และวิสุทธิเทพ การอุบัติขึ้นมาของเทวดานั้น เกิดมาจากผลบุญที่เพียรสั่งสมและมีคุณธรรม เช่น                         หิริ โอตตัปปะ หากหมดอายุขัยแล้วก็จุติดับลงจากภพสวรรค์ได้เช่นกัน ความเชื่อเรื่องเทวดาที่มีต่อประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ได้รับอิทธิพลจากคติความเชื่อจากบรรพบุรุษและทางจิตวิญญาณ ก่อให้เกิดคติความเชื่อในการนับถือพญานาค เจ้าแม่สองนาง ผีสาง นางไม้ ความเชื่อในเรื่องเทวดามีอิทธิพลต่อวรรณกรรมและศิลปกรรมด้านต่าง ๆ ของจังหวัดหนองคาย ซึ่งได้ถูกผสมผสานไปตามยุคสมัยมาถึงปัจจุบัน เมื่อวิเคราะห์หลักจริยธรรมของเทวดาที่มีต่อประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย และรูปแบบพิธีกรรมซึ่งเป็นเอกลักษณ์และคุณค่าทางประเพณี พบว่า มีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนาทุกกิจกรรม ทั้งด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวที่มีผลต่อค่านิยมของคนรุ่นใหม่ในการทำความดี ละเว้นความชั่ว อันเป็นพลังศรัทธา ความเชื่อ ให้เข้าถึงหลัก คำสอนทางพระพุทธศาสนาอย่างเป็นรูปธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

แก้วธารา (นามแฝง). (2556). ภาณยักษ์. กรุงเทพมหานคร : พี เอ็น เค แอนด์ สกายพริ้นติ้งส์.

พระครูวินัยธรสุเทพ อกิญฺจโน. (2539). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องเทพในพระพุทธศาสนาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระจักรกฤษณ์ ธีรธมฺโม. (2558). ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องเทวดาในคัมภีร์จักกวาฬทีปนี. ในวิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). เรื่องเหนือสามัญวิสัยอิทธิปาฏิหาริย์เทวดา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรมดา.

พระมหานิยม ญาณสิทฺธิ. (2564). วิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติเพื่อเป็นเทวดาในพระไตรปิฎก. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเสาร์คำ ธมฺมวโร (ธิหล้า). (2560). การศึกษาวิเคราะห์หลักจริยธรรมของเทวดาที่มีต่อสังคมไทย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการประทุม จารุวํโส (ปรางมาศ). (2554). การศึกษาเปรียบเทียบเทวดาในทัศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาทกับเทพในทัศนะของศาสนาพราหมณ์ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.