ประสิทธิภาพในการให้บริการงานทะเบียนและบัตรของที่ว่าการอำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพและศึกษาแนวทางการพัฒนาการให้บริการงานทะเบียนและบัตร ของสำนักทะเบียนอำเภอเมืองบึงกาฬ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามและสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนผู้มารับบริการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 30 กันยายน พ.ศ. 2565 เนื่องจากไม่ทราบจำนวนผู้มารับบริการอย่างแท้จริง จึงใช้วิธีการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางการคำนวณของ Naresh K. Malhotra กรณี Problem Solving Research ซึ่งมีขนาดของกลุ่มตัวอย่าง อย่างต่ำ 200 ตัวอย่าง ช่วงขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 300-500 ตัวอย่าง รวบรวมข้อมูลแล้วนำมาสังเคราะห์ด้วยวิธีจัดหมวดหมู่ และบันทึกคะแนนแต่ละข้อของแต่ละคนแบบรหัส แล้วนำไปวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน แบ่งเป็นหัวหน้าฝ่าย เจ้าหน้าที่งานทะเบียนและบัตร 5 คน และผู้มารับบริการ 5 คน
ผลการวิจัยพบว่า ระดับประสิทธิภาพการให้บริการงานทะเบียนและบัตรของสำนักทะเบียนอำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยที่ 4.38 และแนวทางการพัฒนาการให้บริการงานทะเบียนและบัตรของสำนักทะเบียนอำเภอเมืองบึงกาฬ ด้านเจ้าหน้าที่มีปัญหาด้านบุคลิกภาพการแสดงออก ควรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจ มีอัธยาศัยดีต่อผู้มารับบริการ ด้านระบบงานและกระบวนการดำเนินงาน มีความล่าช้าของระบบที่หลายขั้นตอน รับรองหลายชั้นบุคคล ควรลดขั้นตอน ด้านงบประมาณควรพิจารณาถึงความเหมาะสมและความจำเป็น ควรจัดสรรงบให้กับส่วนที่ควรปรับปรุงให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้านอาคารสถานที่ ควรปรับปรุงจุดรอรับการบริการ มีป้ายบอกขั้นตอน เพื่อความสะดวกในการให้บริการและการใช้บริการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
ดำรงศักดิ์ นาคกระจ่าง. (2561). ความพร้อมต่อการรับถ่ายโอนภารกิจงานทะเบียนทั่วไปให้กับเทศบาล : กรณีศึกษาเทศบาลในจังหวัดนครสรรค์. วารสารวิจัยวิชาการ, (2)93-108.
บงการ ลิมประพันธุ์. (2524). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการทะเบียนราษฎร : ศึกษากรณี อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มะลิวัลย์ แก้วเพชร. (2559). การพัฒนาการปฏิบัติงานทะเบียน กรณีศึกษา ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตหลักสี่. ใน การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วรรณวิมล ศรีใย. (2552). การบริหารงานทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนของสำนักทะเบียนท้องถิ่นในเขตจังหวัดชลบุรี. ใน การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยและการแปลความหมาย. ข่าวสารวิจัยทางการศึกษา, 18(3), 8 -11.
วุฒิสาร ตันไชย และธีรพรรณ ใจมั่น. (2547). ใน สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทยสถาบันพระปกเกล้า. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.
สิทธิกร สมบูรณ์พร้อม, สามารถ อัยกร และชาติชัย อุดมกิจมงคล. (2564). คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 18(80), 127-134.
สุดารัตน์ บัวเนียม. (2561). ประสิทธิผลการให้บริการของเจ้าหน้าที่ในสำนักทะเบียนอำเภอตามมาตรฐานอำเภอยิ้มของอำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 6 (2), 26-35.