แนวทางการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู ในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

รดา สังข์แก้ว
พิชญาภา ยืนยาว
ธีรวุธ ธาดาตันติโชค

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู ในจังหวัดนครปฐม และ 2) พัฒนาแนวทางการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู ในจังหวัดนครปฐม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ข้าราชการครู จำนวน 9 คน โดยใช้วิธีการสังเกตและสัมภาษณ์ กลุ่มที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน และข้าราชการครู จำนวน 3 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มที่ 3 ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน และข้าราชการครู จำนวน 6 คน โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบบันทึก         การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกประเภทของข้อมูล การเปรียบเทียบข้อมูล การสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และการวิเคราะห์เนื้อหา 


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน    ของข้าราชการครู ในจังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย 1) ความสัมพันธ์ในหน่วยงาน 2) สภาพแวดล้อมการทำงาน 3) ความมั่นคงในงาน 4) การยอมรับ 5) การบังคับบัญชา 6) นโยบายและการบริหาร               7) ความสำเร็จในงาน 8) ความรับผิดชอบ 9) เงินเดือนและสวัสดิการ และ 10) ความก้าวหน้า 2. แนวทางการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู ในจังหวัดนครปฐม ได้แก่ 1) ด้านสภาพการทำงาน ประกอบด้วยความสัมพันธ์ในหน่วยงาน สภาพแวดล้อมการทำงาน ความมั่นคงในงาน และ การยอมรับ 2) ด้านนโยบายและการบริหาร ประกอบด้วยคุณธรรมและนโยบาย และการบริหาร  3) ด้านความสำเร็จในงาน ประกอบด้วยความสำเร็จในงาน และความรับผิดชอบ และ 4) สวัสดิการและผลตอบแทน ประกอบด้วยเงินเดือนและสวัสดิการ และความก้าวหน้า ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.

คมชัดลึกออนไลน์. (2564). วิจารณ์สนั่นคุณภาพชีวิตครู “ทำไมครูไทยอยากลาออก” พุ่งขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์. เรียกใช้เมื่อ 16 เมษายน 2565 จาก https://www.komchadluek.net/hot-social/492529.

ซีเอชสามพลัส. (2565). ครูหนุ่ม ร้องศูนย์ดำรงธรรม ถูกผอ.ขับรถชน ชี้ ครูอีก 25 คนขอย้ายโรงเรียน. เรียกใช้เมื่อ 15 เมษายน 2565 จาก https://shorturl.asia/XjJ9d.

ดารารัตน์ อ้นถาวร. (2562). การเสริมสร้างพลังอำนาจส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

นฤมล หอมเนียม และศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนวัดทับกระดาน. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(1), 98-110.

บุญธิดา แก้วทอง, วรกฤต เถื่อนช้าง และวินัย ทองมั่น. (2565). แนวทางการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ ของบุคลากรตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 5(3), 131-146.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 16 (19 สิงหาคม 2542).

พีพีทีวีออนไลน์. (2565). แฉพฤติกรรม ผอ.ใช้งานเยี่ยงทาส-ด่าทอหยาบคาย. เรียกใช้เมื่อ 15 เมษายน 2565 จาก https://www.pptvhd36.com/news/166525.

สมโชค ประยูรยวง. (2558). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อภิสิทธิ์ พึ่งภพ, วิไลวรรณ พรมสีใหม่ และชวนคิด มะเสนะ. (2564). การเสริมสร้างพลังในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 65-80.

ไอยรัตน์ คงทัพ และเสวียน เจนเขว้า. (2564). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 1(2), 49-62.