บทบาททางวิชาการของนักบริหารงานการศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดหนองคาย

Main Article Content

ปริญญา วงษาเทพ
ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาททางวิชาการของนักบริหารงานการศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองคาย 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองคาย 3) เพื่อศึกษาบทบาททางวิชาการของนักบริหารงานการศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักบริหารงานการศึกษาและครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 217 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.991 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย      ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาททางวิชาการของนักบริหารงานการศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้         2) ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ คือ ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน 3) บทบาททางวิชาการของนักบริหารงานการศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองคาย ได้แก่ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา(X5) ด้านการพัฒนาครู(X4) และด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา(X1) สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้ร้อยละ 59.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยแสดงสมการถดถอยในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน ดังนี้


          Zy’ = 0.384 (X5) + 0.256 (X4) + 0.216 (X1)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงมหาดไทย.

ณรงค์ พิมสาร และคณะ. (2563). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 315-324.

ธนกฤต หัตถีรัตน และคณะ. (2564). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 35-49.

ประวีณา โภควณิช และต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2560). ความต้องการจำเป็นของการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาเรียนรวมระดับประถมศึกษาจังหวัดปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พนิดา ชาตยาภา. (2563). การจัดการชั้นเรียนเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา, 14(3), 224-240.

ภัสราณัฏฐ โพธิอาสน์ และปนัฐษรณ์ จารุชัยนิวัฒน์. (2563). บทบาทครูอนุบาลในการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12(2), 474-490.

รวี ศิริปริชยากร และขวัญใจ จริยาทัศน์กร. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดนครนายกตามการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการ. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ศิริกาญจน์ ไกรบำรุง. (2559). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาครูผู้สอนโรงเรียนเสิงสางสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 นครราชสีมา. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 : บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้สู่ความยั่งยืน 17 มิถุนายน 2559 วิทยาลัยนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา, 963-970.

สายสมร ชื้อทัศนประสิทธิ. (2559). ปัญหาการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี. ใน ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.

สุภาวดี ทองสำฤทธิ์. (2561). การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

อลงกรณ์ ไกรสินธุ์ และคณะ. (2564). การพัฒนากระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอท่าฉาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(41), 296-309.

อุทัยวรรณ นรินรัตน์ และคณะ. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.