ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านช้อปปี้ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นฤมล ทิมิลกุล
กนิษฐา ฤทธิ์คำรพ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางผ่านช้อปปี้ ในเขตกรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติด้วย T-test (Independent Sample t-test) ใช้วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวโดยสถิติทดสอบ        F-test (One way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ


         ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามเพศ การศึกษา และรายได้ที่แตกต่างกัน มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามอายุและอาชีพ ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ ในเขตกรุงเทพมหานครที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการบริการ และด้านลักษณะทางกายภาพ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านราคา ตามลำดับ ส่งผลให้การทำนายการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ ในเขตกรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 89.2

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

ครองขวัญ รอดมวน. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2562 จากhttps://www.thaipost.net/main/detail/15886.

ชนิตา เสถียรโชค. (2560). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ซื้อสินค้าผ่านช่องทางอิเล็คทรอนิคส์บน Lazada. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยสยาม.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 28 มกราคม 2563 จาก https://www.etda.or.th/th/NEWS/ETDA-Revealed-Thailand-Internet-User-Behavior-2019.aspx.

เสาวลักษณ์ สมานพิทักษ์วงศ์. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสงขลา. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยสงขลา.

โสรยา ชะเอม. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ กับ Lazada (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาควิชาการเงินและการธนาคาร. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons.

Hair, J., et al. (2553). Multivariate data analysis (7th ed.). Upper saddleRiver. New Jersey : Pearson Education International.

Marketing Oops. (2562). การซื้อเครื่องสำอางและสินค้าบิวตี้ของคนไทย. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2563 จาก https://www.marketingoops.com/reports/beauty-product-thai-buying-behavior-2018.

Think about wealth. (2563). สถิติการใช้งานแอพพลิเคชั่นออนไลน์. เรียกใช้เมื่อ 25 มกราคม 2563 จาก https://www.thinkaboutwealth.com/lazada-shopee-1111.