การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาประสิทธิผลตามมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองคาย

Main Article Content

พีระพงศ์ พิมษร
ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาประสิทธิผลตามมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็ก 2) หาแนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลตามมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้อำนวยการกองการศึกษา นักวิชาการศึกษาครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 226 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบ่งชั้น การเก็บข้อมูลมี 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม 0.983 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและจัดเรียงอันดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลตามมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก


ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาประสิทธิผลตามมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในภาพรวมพบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับสภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.33) ส่วนค่าเฉลี่ยระดับสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.93) จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ระดับสภาพปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับสภาพที่พึงประสงค์เป็นรายด้านทุกด้าน ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาประสิทธิผลตามมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ลำดับ 1 คือ ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร (PNIModified = 0.505) ลำดับ 2 คือ ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (PNIModified = 0.500) และลำดับ 3 คือ ด้านบุคลากร (PNIModified = 0.473)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2559). มาตรฐานการดำเนินศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2579. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กลุ่มพัฒนาการศึกษาปฐมวัย สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.

ณัฏฐณิชา พลศรีดา. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดนครพนม. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เต็มศิริ สองเมืองและคณะ. (2563). สภาพการดำเนินงานและสภาพปัญหาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 40(5),14.

ทาริกา ไทยธานี และ พรเทพ รู้แผน. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 4(1), 27-28.

ธนกฤต หัตถีรัตน. (2564). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 36.

เพ็ญโสภา เทพปัน และคณะ. (2558). สภาพและปัญหาการดำเนินการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์, 8(2), 1901.

วัชรินทร์ เสมามอญ. (2559). สภาพและปัญหาการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามความคิดเห็นของบุคลากรในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วิมลวรรณ ศิริ. (2561). การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(3), 230.

สำนักงานกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดหนองคาย. (2564). ข้อมูลพื้นฐานของอปท. เรียกใช้เมื่อ 15 กรกฎาคม 2564 จาก https://shorturl.asia/V1iYU.

อุไรวรรณ ศรีสุข. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(1),1127-1128.