การส่งเสริมโรงเรียนบ้านจันลมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

ธนพล วิยาสิงห์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจทรัพยากรในโรงเรียนและชุมชนบ้านจันลม ตำบลลมศักดิ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพในโรงเรียนและชุมชนบ้านจันลมในการส่งเสริมโรงเรียนบ้านจันลมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) เพื่อกำหนดแนวทางการส่งเสริมโรงเรียนบ้านจันลมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน และการประชุมสนทนากลุ่มย่อยจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการสังเคราะห์ สรุปผล และนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาความ


         ผลการวิจัย พบว่า 1) โรงเรียนบ้านจันลม มีวิสัยทัศน์โรงเรียนในการน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้พันธกิจ คือ จัดการศึกษาโดยน้อมนำแนวพระบรมราโชวาท พระราชดำริ พระราชปณิธาน พระบรมราโชบายมาบูรณาการในการจัดกระบวนการเรียนรู้ 2) ชุมชนบ้านจันลม มีกลุ่มอาชีพหลายกลุ่ม เช่น มีกลุ่มสตรีทอผ้า มีกลุ่มอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม เช่น ประเพณีแซนโฎนตา การทำบุญตักบาตร มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และมีป่าชุมชนที่ร่วมกันอนุรักษ์ และแนวทางการส่งเสริมโรงเรียนบ้านจันลมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ควรมีการส่งเสริมนำทรัพยากรโรงเรียนบ้านจันลมมาบูรณาการกับทรัพยากรในชุมชนมาจัดให้อยู่ภายในโรงเรียน เพื่อจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ และในที่ประชุมมีมติว่าโรงเรียนควรส่งเสริมกลุ่มอาชีพและปรับภูมิทัศน์ในโรงเรียนบ้านจันลมด้วยการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อน และส่งเสริมให้มีจุดเช็คอินหรือจุดถ่ายรูปในโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กมลศิลป์ แก้วยาศรี. (2548). การรับรู้และการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตเลย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

กานต์ชนิต ต๊ะนัย. (2551). การน้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ในโรงเรียนบ้านเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. ใน การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ชูเดช เฟื่องฟู. (2548). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านแม่แฮเหนือ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณรงค์ อภัยใจ. (2548). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านเมืองกึ๊ด อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. ใน วารสารการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13, (2).

ทิศนา แขมมณี. (2546). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประจักษ์ นาหนองตูม. (2543). การศึกษาการดำเนินโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริโรงเรียนแกนนำโครงการเศรษฐกิจพอเพียง. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

โรงเรียนบ้านจันลม. (2566). ข้อมูลนักเรียน. เรียกใช้เมื่อ 23 สิงหาคม 2566 จาก https://data.bopp-obec.info/web/index_view_stu.php?School_ID=1033530271.

C. Tosun. (1998). Roots of unsustainable tourism development at the local level : the case of Urgup in Turkey. Journals of Tourism Management. run when 22 August 2023 Retrieved from https://www.sciencedirect.com/journal.

Greenwood, Jerusha Bloyer. (2006). Sustainable development in a tourism destination context: APlimsoll model of sustainability for Tyrrell County. North Carolina : North Carolina State University.

Katz, R.L. (1955). Skill of Effective Administrator. run when 22 August 2023 Retrieved from https://www.scirp.org/referencespapers.aspx?referenceid=2233860.

Leys, Wayne A. R. (2013). Ethics and Social Policy. South Charleston : Nabu Press.