ปัญหาทางกฎหมายการดำเนินคดีอาญาเด็กและเยาวชนในชั้นพนักงานสอบสวน

Main Article Content

ฐปนวัชร์ สระสม
นฤนาท รัตนโชติวงศ์กุล
ธนาฤทธิ์ ขัมภรัตน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามาตรการทางกฎหมายของไทยและต่างประเทศในการดำเนินคดีอาญาเด็กและเยาวชนในชั้นพนักงานสอบสวน 2) ข้อเสนอแนะ การวิจัยนี้เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาเอกสารและตำราทางกฎหมาย


ผลการวิจัยพบว่า 1) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 75 ในการสอบสวนผู้กระทำความผิด ไม่ได้กำหนดให้ต้องมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วย เมื่อพิจารณาสาเหตุของการกระทำผิดของเด็กแล้วนั้น อาจเกิดจากความเยาว์วัย รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถูกหลอกใช้ หรือเพราะได้รับแบบอย่างความประพฤติที่ไม่ดีจากบุคคลรอบข้าง หรือเกิดจากความผิดปกติของร่างกายและจิตใจ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้อารมณ์แปรปรวน ซึ่งต่างกับกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ในการสอบสวนเด็ก ตำรวจต้องส่งตัวเด็กให้ศาลเยาวชนโดยตรง การสอบสวนคดีเด็กกระทำอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเด็กเติบโตเร็วและเปลี่ยนแปลงความคิดและจิตใจ การสัมภาษณ์เด็ก ตำรวจต้องไม่เพียงค้นหาข้อเท็จจริงในเรื่องของการกระทำผิดอาญา แต่รวมถึงความจำเป็นของมาตรการแก้ไขและการปกป้องเด็ก ผู้ปกครองหรือผู้แทนต้องได้รับการติดต่อโดยเร็ว และสามารถแนะนำแนวทางระหว่างที่ฟื้นฟู แก้ไข เยียวยา และอบรมได้หลังคดีปิดแล้ว 2) ข้อเสนอแนะ พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 75 วรรคสอง การสอบสวนผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นเด็กและเยาวชน ให้เพิ่มเติมว่า “ต้องมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการถามปากคำเด็ก” จะทำให้เด็กและเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดได้รับความความเป็นธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กฎแห่งกรุงปักกิ่ง. (n.d.). กฎอันเป็นมาตรการขั้นต่ำของสหประชาชาติว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรมเกี่ยวแก่คดีเด็กและเยาวชน.

ชัชญาภา พันธุมจินดา. (2553). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเด็กระหว่างสอบสวน ศึกษากรณีเด็กเป็นผู้ต้องหา. ใน วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

โชคชัย ตั้งรักษาสัตย์. (2555). ปัญหาการใช้บังคับพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553. หลักสูตรผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น รุ่นที่ 10 : สำนักงานศาลยุติธรรม.

ณรงค์ ใจหาญ. (2543). การถามปาดคำเด็กในคดีอาญา : หลักกฎหมายและทางปฏิบัติ. วารสารนิติศาสตร์, 3(30), 350-359.

นวลจันทร์ ทัศนชัยกุล. (2540). บทบาทบิดามารดาเยาวชนที่กระทำความผิดกฎหมาย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญจง ขาวสิทธิวงษ์. (2545). กฎหมายกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 42(36), 173-174.

บุญเพราะ แสงเทียน. (2542). คำอธิบายพระธรรมนูญศาลยุติธรรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ไพโรจน์ ปัญจประทีป. (2539). ปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะการกระทำผิดในคดีข่มขืนกระทำชำเราของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางบางขวาง เรือนจำกลางคลองเปรมและทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล.

ราชกิจจานุเบกษา. (2559). พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฉบับที่ 5. เล่ม 133 ตอนที่ 109 ก หน้า 24 (26 ธันวาคม 2559).

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฉบับที่ 34. เล่ม 136 ตอนที่ 34 ก หน้า 18 (20 มีนาคม 2562).

วิชา มหาคุณ. (2541). ศาลเยาวชนและครอบครัวตามแนวความคิดสากล. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนากระบวนการยุติธรรมเยาวชนและครอบครัว ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง.

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตาก. (2561). ความหมายเด็กและเยาวชน. เรียกใช้เมื่อ 2 สิงหาคม 2565 จาก: www.tak-ju.ago.go.th.

สิริโรจน์ สิทธิชาญบัญชา. (2537). ตำรวจกับการทำงานที่เกี่ยวกับเยาวชนและการบริหารงานยุติธรรมต่อเยาวชน. ใน วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สุรีย์ กาญจนวงศ์. (2549). การศึกษาปัญหาที่เป็นสาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน. ใน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยมหิดล.

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก. (1989 ). The United Nation Convention on the Rights of the Child 1989.

อัญชนา จันทร์ประเสริฐ. (2544). การคุ้มครองเด็กในการสอบปากคำชั้นสอบสวนคดีอาญา. ในวิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารงานยุติธรรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.