ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยธุรกิจรักษาความปลอดภัย

Main Article Content

นฤนาท รัตนโชติวงศ์กุล
ธนาฤทธิ์ ขัมภรัตน์
ฐปนวัชร์ สระสม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษามาตรการควบคุมธุรกิจรักษาความปลอดภัยของประเทศไทย 2) ศึกษาปัญหาการใช้บังคับกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย และ 3) เพื่อเสนอแนะ เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษา รวบรวมข้อมูลการบังคับใช้กฎหมาย ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบจากการบังคับใช้กฎหมายของผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบอาชีพรักษาความปลอดภัยและบุคคลทั่วไป จากเอกสาร ข่าวสาร บทความ กฎหมาย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาทำการวิเคราะห์ด้านเนื้อหา


          ผลการศึกษาพบว่า 1) มาตรการควบคุมธุรกิจรักษาความปลอดภัยมีการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมการประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัย ตามพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เว้นแต่บทบัญญัติในหมวด 1 และมาตรา 72  ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559 2) ผลกระทบเชิงบวก เป็นประโยชน์ต่อความปลอดภัยของประชาชน สังคม และผู้ใช้บริการ ความมีมาตรฐาน การบังคับให้จบการศึกษาวุฒิ ม.3 ขึ้นไป ทำให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัยและเชื่อใจได้ ผลกระทบเชิงลบ ด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ด้านการบริหารจัดการ และต่อพนักงาน และ 3) ข้อเสนอแนะ 1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องคอยกำกับดูแลธุรกิจรักษาความปลอดภัย รวมทั้งมาตรการในการควบคุมดูแล บังคับใช้กฎหมายกับธุรกิจรักษาความปลอดภัย และประสานความร่วมมือกับสถานประกอบการ 2) และควรมีการศึกษาและทำความเข้าใจพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัยตามการบังคับใช้ที่อาจจะส่งผลต่อธุรกิจรักษาความปลอดภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กฎกระทรวงการอนุญาตธุรกิจรักษาความปลอดภัย. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 45 ก.

กฎกระทรวงการอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 45 ก หน้า 20 (21 เมษายน 2560).

กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยและการเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 45 ก หน้า 28 (21 เมษายน 2560).

เกรียง พลรัฐธนาสิทธิ์. (2564). การเมืองกับนโยบายธุรกิจรักษาความปลอดภัย. วารสาร มจร.สังคมปริทรรน์, 10(2), 373-386.

ขันติ มโนเจริญ และกฤช จรินโท. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย: กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าบางปะกง. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธ์ศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

พงษ์กฤษณ์ มงคลสินธุ์ และคณะ. (2552). การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนามาตรฐานอาชีพรักษาความปลอดภัย. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย. (2558). ราชกิจจานุเบกขา. เล่ม 132 ตอนที่ 104 ก หน้า 24.

ศรัญญา มาลัย. (2558). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับพนักงานรักษาความปลอดภัยที่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558. ในวิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุทธิมาตร จันทร์แดง. (2559). แนะนำกฎหมายใหม่และกฎหมายที่น่าสนใน "พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558”. วารสารจุลนิติ, 13(2). 77-92.

แสงวัน โรจนธรรม. (2549). ผู้หญิงกับการทำงานเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.