ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขของประชาชนในตำบลหนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ภาวิณี เถื่อนกุล
รังสรรค์ อินทน์จันทน์
สิทธิพรร์ สุนทร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


             บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขของประชาชนในตำบลหนองฝ้าย 2) เพื่อศึกษาระดับความสุขของประชาชนในตำบลหนองฝ้าย 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขของประชาชนในตำบลหนองฝ้าย และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขของประชาชนในตำบลหนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ตัวแทนครัวเรือนของประชาชนในตำบลหนองฝ้าย   ประชากร จำนวน 1,981 คน และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน  333 คน โดยคำนวณได้จากสูตรของทาโร ยามาเน ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05


             ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขของประชาชนในตำบลหนองฝ้าย โดยรวม อยู่ในระดับมาก 2) ระดับความสุขของประชาชนในตำบลหนองฝ้าย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขของประชาชนในตำบลหนองฝ้าย พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .783 (R = .783) ตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายการผันแปรของตัวแปรตามได้เท่ากับร้อยละ 61.3  มีค่า R2 = .613 และมีค่า F = 103.779 ซึ่งแสดงว่า ตัวแปรอิสระส่งผลต่อความสุขของประชาชนในตำบลหนองฝ้าย 4) ข้อเสนอแนะต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขของประชาชนในตำบลหนองฝ้าย คือ ควรมีการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ พร้อมกับสนับสนุนการสร้างตลาดการซื้อขายอาหารที่ปลอดภัย ควรมีการจัดทีมสายตรวจ ออกตรวจตราในพื้นที่เวลาวิกาล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กัลยาณี เสนาสุ. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสุขของคนไทย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

กิ่งทอง กิจจานนท์. (2557). ความสุขของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

เกสินี หมื่นไธสงและคณะ. (2560). การเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในความสุขของประชาชนเขตเมืองและชนบท จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(6), 63-76.

คณะกรรมการอำนวยการงานพัฒนาชีวิตของประชาชน (พพช.). (2565). คู่มือการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2566-2570. กรุงเทพมหานคร : กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

ธีรวัฒน์ วงศ์วรัญญู. (2558). ความสุขของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสนตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรพิศ คชวัฒนา. (2565). ความสุขมวลรวมของคนไทยในยุคโรคระบาดครองเมือง. เรียกใช้เมื่อ 21 มิถุนายน 2566 จาก https://www.sdgmove.com.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร : สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สุภาณี สุขะนาคินทร์. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขของประชาชน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์และคณะ. (2553). ความสุข: การวัดความสุขของคนในชาติ และนโยบายที่ส่งเสริมให้คนเป็นสุข ควรเป็นอย่างไร. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ.

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองฝ้าย. (2565). แผนพัฒนาสามปี. กาญจนบุรี : องค์การบริหารส่วนตำบลหนองฝ้าย.

Flanagan, J.C. (1998). A research approach to improving our quality of life. American Psychologist, 3, 138-147.

Taro Yamane. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row Publications.

WHO. (1995). The challenge of implementation: District health systems for primary health care. Geneva : World Health Organization.

Williams, Walter. (1971). Social Policy Research and Analysis: The Experience in the Federal Social Agencies. New York : American Elsevier Publishing Co.