แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ

Main Article Content

ระวิวรรณ คำทะริ
ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู 2) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 278 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางเครซีและมอร์แกน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของโรงเรียน ระยะที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.990 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ และจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กลุ่มเป้าหมายจำนวน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู


          ผลการศึกษาพบว่า สภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุก ค่าความต้องการจำเป็น พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านการใช้และพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู คือ 1) ส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน การจัดอบรม และสนับสนุนการจัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) สนับสนุนการเรียนการสอนวิชาการศึกษาค้นคว้าอิสระ พัฒนาเจตคติของครูให้เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้เรียน 3) สนับสนุนงบประมาณ อุปกรณ์ สถานที่ ติดตั้งอินเตอร์เน็ต 4) ส่งเสริมให้ครูใช้วิธีการ เครื่องมือที่หลากหลาย ส่งเสริมให้ครูทำวงจรบริหารคุณภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการประจำปีงบประมาณ 2566. เรียกใช้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 จาก https://moe360.blog/2022/01/19/policy-and-focus-moe/.

เพชรจันทร์ ภูทะวัง. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนประถม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยุภาลัย มะลิซ้อน. (2563). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2544). การพัฒนาการเรียนการสอนทางการอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). คุณภาพผู้เรียน เกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 1-13.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ. (2565). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 – 2569). เรียกใช้เมื่อวันที่เมื่อ 1 ตุลาตม 2565 จาก https://shorturl.asia/kQFl4.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: เอส.บี.เค.การพิมพ์.

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิวาส โพธิตาทอง. (2563). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 30. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยสารคาม.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), pp. 607-610.