ความสัมพันธ์ของปัญหากับแนวทางการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เขตการเลือกตั้งเขต 6 จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 2) เพื่อศึกษาระดับแนวทางการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัญหากับแนวทางการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ในเขตการเลือกตั้งเขต 6 จังหวัดนครปฐม ประชากรจำนวน 121,137 คน และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 คน โดยคำนวณได้จากสูตรของทาโร ยามาเน ใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่าง อย่างง่าย ด้วยการจับสลาก ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง โดยวิธี Enter ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับแนวทางการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน พบว่า โดยรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง เท่ากับ .769 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .815 (R = .815) ตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายการผันแปรของตัวแปรตามได้เท่ากับร้อยละ 66.5 มีค่า R2 = .665 และมีค่า F = 155.685 ซึ่งแสดงว่าตัวแปรอิสระส่งผลต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 4) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน คือ ควรเพิ่มวงเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ควรมีการลดค่าสาธารณูปโภค นักการเมืองควรมีการลงพื้นที่ให้เหมือนกับช่วงการหาเสียง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
จรัญ พรหมอยู่. (2548). ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ชรัส บุญณสะ. (2566). ปัญหาและแนวทางแก้ไขระบบการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนของศูนย์ดำรงธรรม. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2566 จาก https://shorturl.asia/LXVYw.
ปรมัตถ์ โพตาพลและพูนสุข จันทศิลป์. (2565). แนวทาง ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่: บ้านท่าม่วง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 16(1), 267-277.
ประกาศิต สายธนู. (2553). ผลการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบและทักษะการ แก้ปัญหาของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ PBL กับการเรียนแบบ PBL เรื่องการ เขียนภาพฉาย ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ยุทธพล จรูญเรือง, ปะการัง ชื่นจิตร และวีรยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2566). บทบาทของภาครัฐกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน : กรณีศึกษา ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2566. จาก https://shorturl.asia/qOdE1.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนครปฐม. (2566). บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566. นครปฐม : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนครปฐม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). รายงานประจำปี 2559. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). ปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชน. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2566 จาก https://www.nso.go.th/.
Williams, Walter. (1971). Social Policy Research and Analysis: The Experience in the Federal Social Agencies. New York : American Elsevier Publishing Co.
Yamane Taro. (1973). Statistics an Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row.