แนวคิดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสังคมในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

Main Article Content

เจษฎา มูลยาพอ
พระครูภาวนาธรรมโฆสิต
พระมหาประทีป อภิวฑฺฒโน
พระวันชัย ภูริทตฺโต

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย สาระสำคัญของธรรมจักกัปปวัตตนสูตร และวิเคราะห์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสังคมในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ สาระสำคัญของพระสูตรนี้ ประกอบด้วยความเมามัวการหมกมุ่นในกามคุณอันน่าใคร่ น่าพึงพอใจ ที่ปิดบังใจให้เป็นทุกข์ และการทำตนให้ลำบากอันเป็นเหตุแห่งความกระวนกระวายกระสับกระส่าย อึดอัด ขัดเคือง ทั้งกายและใจ เพราะที่สุดโต่งทั้งสอง เป็นความต้องการปรารถนา เป็นความเชื่อที่พยายามแสวงหาลาภยศสรรเสริญและความสุขเพื่อครอบครองให้มากที่สุดตามความปรารถนา และอีกอย่าง การทรมานตนเองเพื่อต้องการความปรารถนาด้วยการทุ่มเท แม้กระทั้งชีวิตเพื่อให้พ้นจากทุกข์ และพุทธองค์ทรงแสดงความจริงสูงสุด ได้ทางออกคือทางสายกลาง ได้แก่ ปัญญา ศีล และสมาธิตามลำดับ ซึ่งเป็นกระบวนการปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ และทรงแสดงสัมมาปฏิบัติอันเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง ที่เรียกกันว่า อริยมรรคมีองค์แปด ที่พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า ทางออกจากทุกข์ที่ถูกต้อง ทางสายนี้เป็นอิสระจากเชิงบวกหรือเชิงลบ เรียกว่าทางสายกลาง คือการไม่ติดทั้งบวกและลบ ทางที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นี้ จึงเป็นทางสายใหม่ที่ถูกต้อง มีความปลอดภัย เป็นทางนำไปสู่ความสิ้นความอยาก ได้อิสระ ท่านโกณทัญญะหนึ่งในปัญจวัคคีย์ ได้ฟังพระธรรมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โดยท่านได้รู้แล้ว มีดวงตาเห็นธรรม และพระพุทธเจ้าทรงบวชด้วยวิธีเอหิภิกขุ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติเป็นอันมาก ถือว่าเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสังคมชาวโลกอย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2561). พระพุทธเจ้ากับแผนการกู้อิสรภาพ. กรุงเทพมหานคร : เอดิสัน เพรส โพรดักส์.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2548). โลกทัศน์ของชาวพุทธ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส.อาร์.พริ้นต์ แมส โปรดักส์ จำกัด.

__________________. (2557). ตามทางพุทธกิจ. (พิมพ์รั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : สยามปริทัศน์.

พระพรหมบัณฑิตและคณะ. (2561). พระไตรปิฎกฉบับสากล: วิถีธรรมจากพุทธปัญญา. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬางกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

__________________. (2552). อรรถกถาภาษาไทยพระวินัยปิฎก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

__________________. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพมหานคร : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ–ไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : อรุณการพิมพ์.

วีระ อำพันสุข. (2526). พุทธธรรมกับการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : เอราวันการพิมพ์.

ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ. (2556). พุทธศาสนาเถรวาท. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ส.ศิวรักษ์. (2534). ความเข้าใจในเรื่องพระเจ้าอโศกและอโศกาวทาน, ภาคผนวกเรื่อง จารึกอโศก. แปลโดยพระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ศูนย์ไทย-ธิเบต.

เสฐียพงษ์ วรรณปก. (2562). ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร | กงล้อแห่งความจริงอันประเสริฐ. เรียกใช้เมื่อ 1 เมษายน 2567 จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_173928.

แสวง อุดมศรี. (2543). พระวินัยปิฎก 1. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.