รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชาการวิจัยการตลาด สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชาการวิจัยการตลาด สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลดังกล่าวมายกร่างรูปแบบทำการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชาการวิจัยการตลาด สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ด้วยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คน 2) ศึกษาผลการทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชาการวิจัยการตลาด สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 22 คน 3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชาการวิจัยการตลาด สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยการรับฟังความคิดเห็นของเชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ได้แก่ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้าแผนกวิชาการตลาด และครูแผนกวิชาการตลาด


ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชาการวิจัยการตลาด สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) Interest: การกระตุ้นความสนใจ (2) Search: การค้นคว้าหาข้อมูลสารสนเทศ (3) Collaboration: การร่วมมือดำเนินโครงงาน (4) Check: การตรวจสอบโครงงาน และ (5) Presentation: การแสดงผลโครงงาน 4) ผู้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ 5) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และ 6) การวัดและประเมินผล การทดลองการใช้รูปแบบ พบว่ารูปแบบมีประสิทธิภาพ E1/E2 = 81.57/80.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 นักศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก การประเมินรูปแบบ พบว่าในภาพรวมมีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย