การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานประกอบการเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพให้แก่ผู้เรียน สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานประกอบการเป็นแหล่งเรียนรู้ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานประกอบการเป็นแหล่งเรียนรู้ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน สังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่เปิดสอนสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 10 สถานศึกษา ๆ ละ 55 คน จำนวน 550 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานประกอบการเป็นแหล่งเรียนรู้ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการสร้างความตระหนัก ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการนิเทศติดตาม และด้านการประเมินผล พบว่า หลังการพัฒนามีความเหมาะสมสูงกว่าก่อนการพัฒนา มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 กล่าวคือ หลังการพัฒนามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ในขณะก่อนการพัฒนามีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง มีกระบวนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สถานประกอบการเป็นแหล่งเรียนรู้ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน (PAIME) ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวางแผน ขั้นที่ 2 สร้างความตระหนัก ขั้นที่ 3 การปฏิบัติงาน ขั้นที่ 4 นิเทศติดตาม และขั้นที่ 5 ประเมินผล
- 2. แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานประกอบการเป็นแหล่งเรียนรู้ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้แก่ ควรมีการร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนในการขับเคลื่อน การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษากลุ่มอาชีพโลจิสติกส์ มากที่สุด ร้อยละ 82 รองลงมาคือ ควรมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนเกิดทักษะและประสบการณ์ตรงที่มีความครอบคลุมการทำงานในสถานประกอบการ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการใช้ภาษาที่สอง ทักษะด้านการควบคุมอารมณ์ และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น ร้อยละ 50.91 และควรมีการปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติมากขึ้นตามแผนการเรียนทวิภาคี ร้อยละ 50.55 ตามลำดับ
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิจัย