รูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแนวใหม่ ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3

บทคัดย่อ


การวิจัยเรื่องรูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแนวใหม่       ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมสาน       (Mix Methodology) และได้นำแนวคิดทฤษฎีระบบเพื่อผลลัพธ์ทางการศึกษาที่ดีกว่า (System Approach for Better Education Results : SABER) ของธนาคารโลกมาประยุกต์ใช้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการพัฒนาระบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม    ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยการศึกษาเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันและสภาพที่ต้องการ ของระบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ 2) สร้างและประเมินรูปแบบระบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษา       ระบบทวิภาคีแนวใหม่ ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผลการวิจัยพบว่า


         1) สภาพและความต้องการของระบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า องค์ประกอบด้านคุณภาพการจัดการศึกษาด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการศึกษา มีความต่างของสภาพปัจจุบันกับสภาพที่ควรจะเป็นสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ยของสภาพปัจจุบันที่ระดับน้อยที่สุด  สภาพที่ควรจะเป็นอยู่ที่ระดับมากที่สุด PNI Modified อยู่ที่ระดับ 2.60 ส่วนองค์ประกอบงบประมาณของสถานศึกษา พบว่า ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา มีความต่างของสภาพปัจจุบันกับสภาพที่ควรจะเป็นสูงสุด สภาพปัจจุบันที่ระดับน้อยที่สุด  สภาพที่ควรจะเป็นอยู่ที่ระดับมากที่สุด PNI Modified อยู่ที่ระดับ 2.49


                   2) การสร้างและประเมินรูปแบบระบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทวิชา           ช่างอุตสาหกรรม ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า รูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแนวใหม่ ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ของสำนักงานคณะกรรมการ          การอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 องค์ประกอบคุณภาพการจัดการศึกษา ซึ่งมี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) ด้านคุณภาพของผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา (2) ด้านผู้บริหาร ครู      และบุคลากรทางการศึกษา (3) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล และ (4) ด้านคุณภาพขององค์กร และ องค์ประกอบที่ 2 องค์ประกอบการระดมทรัพยากร ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่                                 (1) ด้านการจัดสรรงบประมาณ การระดมทุนของสถานศึกษา (2) ด้านหน้าที่และความรับผิดชอบของสถานศึกษา (3) ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการศึกษา และ (4) ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษา นอกจากนี้ ผลการนำรูปแบบไปใช้ในปีการศึกษา 2561-2562 ใน 50 สถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า    มีผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องอยู่ในระดับมากที่สุด โดยในปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยที่ 4.65 และปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ย 4.73  นอกจากนี้ ยังพบว่า ผลการผ่านการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพ ของผู้เรียนชั้นปีสุดท้าย ในปีการศึกษา 2561 มีค่าเท่ากับร้อยละ 97.20 และผลการผ่านการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพของผู้เรียนชั้นปีสุดท้าย ในปีการศึกษา 2562 มีค่าเท่ากับร้อยละ 98.59 สำหรับผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแนวใหม่ ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ใน 4 ด้าน มีผลการประเมิน ดังนี้ 1) ด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด  3) ด้านความถูกต้องครบถ้วน อยู่ในระดับมากที่สุด และ 4)  ด้านความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด 

Article Details

บท
บทความวิจัย